วันเสาร์ที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
มอเนอรา (Monera) เป็นอาณาจักรทางชีววิทยา ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตจำพวกที่นิวเคลียสไม่มีผนังห่อหุ้ม (prokaryotic nucleus) และไม่มีแวคิวโอล มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น พบอยู่ทุกหนทุกแห่งในอากาศ ในน้ำ ในดิน อาจเป็นเซลล์เดียวหรือต่อกันเป็นสาย ภายในเซลล์ไม่แสดงขอบเขตของนิวเคลียสชัดเจน มีรูปร่างหลายแบบทั้งกลม แท่ง และเกลียว และยังสามารถอาศัยอยู่บนหรือในพืชและสัตว์ สมาชิกในอาณาจักรนี้ได้แก่สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและแบคทีเรีย ปัจจุบันอาณาจักรมอเนอราได้แบ่งออกเป็นสองอาณาจักร คืออาณาจักรอาร์เคีย และแบคทีเรีย
วันศุกร์ที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
พระเจ้าเซจงมหาราช (ฮันกึล:세종대왕 ฮันจา:世宗大王 อังกฤษ:Sejong the Great of Joseon)ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ลีของเกาหลี
พระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยะภาพ
พระเจ้าเซจงทรงคิดค้นตัวอักษรของเกาหลีที่เรียกว่า ฮันกึล ใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1986 ซึ่งเป็นอักษรเอกลักษณ์เฉพาะของเกาหลีที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งแต่เดิมตัวอักษรเคยใช้ตัวอักษรมาจากจีนที่ชาวเกาหลีเรียกกันว่า ฮันจา และนับจากนั้นเกาหลีก็ใช้ตัวอักษรของตนเอง และยังทรงคิดค้นระบบศาลในเกาหลี
วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วัดสังกัสรัตนคีรี (เดิมชื่อ วัดมณีสถิตกปิตถาราม เป็นวัดที่รวมวัดขวิด และวัดทุ่งแก้ว เป็นวัดเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕) ตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรังเดิมชื่อ หมู่บ้านสะแกกรัง หมู่ 3 บ้านน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นวัดราษฎร์
วัดสังกัสรัตนคีรี เป็นวัดเก่า
ประดิษฐาน
สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสมรภูมิสำคัญในการขับไล่พม่าบ้านสะแกกรังยังเป็นที่ประสูติของพระราชบิดาของรัชกาลที่ 1 มี พระบรมรูปของพระองค์ประดิษฐานในพลับพลาจัตุรมุขยอดเขาสะแกกรัง
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นพระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งราชวงค์จักรี มีพระนามเดิมชื่อ ทองดี เป็นบุตร ชายของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ประสูติที่บ้านสะแกกรัง ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
วัตถุมงคลของ พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา
สมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุฯ อดีตสมเด็จพระสังฆราช ประสูติที่บ้านสะแกกรัง ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
วันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วันจันทร์ที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface, UI) หมายถึง สิ่งที่มีไว้ให้ผู้ใช้ใช้ในการกระทำกับระบบหรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เครื่องกล อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าใดๆ หรือระบบที่มีความซับซ้อนอื่นๆ เพื่อให้สิ่งๆนั้นทำงานตามความต้องการของผู้ใช้
ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สามารถจัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ได้แก่
ส่วนที่นำข้อมูลเข้า หรือส่วนสั่งงาน เรียกว่า อินพุต (input)
ส่วนที่ใช้แสดงผลลัพธ์ หรือส่วนที่ไว้รอคำสั่งจากผู้ใช้ เรียกว่า เอาต์พุต (output) ความเหมาะสมต่อการใช้งาน
ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ นั้นโดยมากจะหมายถึง การแสดงภาพกราฟิก หรือข้อความ หรือเสียง ให้ผู้ใช้ได้รับทราบและช่วยในการควบคุมขั้นตอนการใช้งานของผู้ใช้ต่อโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ ผ่าน แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด หรือ เมาส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)