วันศุกร์ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
กระบวนการเผาผลาญยา (อังกฤษ:Drug metabolism) คือกระบวนการเผาผลาญยาหรือสารประกอบเคมีจะมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางชีวเคมีหรือการเสื่อมสะลายทางเคมีโดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับระบบเอ็นไซม์ ในกระบวนการเผาผลาญยาบ่อยครั้งจะเป็นการเปลี่ยนคุณสมบัติจากสารประกอบเคมีที่ ไม่ชอบน้ำ (lipophilic) ไปเป็นสารประกอบเคมีที่ชอบน้ำ (Hydrophilicity)เพื่อว่ามันจะสามารถละลายได้ในน้ำและถูกขับออกมากับปัสสาวะ ช่วงเวลาของการคงอยู่ในสภาพเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการรักษามีความสำคัญมาก ผลของการเผาผลาญยาอาจทำให้เกิดพิษ (toxication) หรือเป็นการ กำจัดพิษ (detoxication) ส่วนใหญ่เป็นการกำจัดพิษ
วันพุธที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เรือประจัญบาน บิสมาร์ค
หลังประสบความสำเร็จในการต่อเรือลาดตระเวณประจัญบานชั้น กไนส์เนาส์ จึงได้เริ่มโครงการต่อเรือประจัญบานชั้นบิสมาร์คขึ้น โดยได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1936 และปล่อยลงน้ำในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 โดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมัน และ โดโรธี ฟอน โลเวนเฟล หลานของ ออตโต ฟอน บิสมาร์ค อดีตรัฐบุรุษแห่งจักรวรรดิเยอรมัน มาเป็นประธานการปล่อยเรือลงน้ำ บิสมาร์ค ขึ้นระวางประจำการในวันที่ 24สิงหาคม ค.ศ. 1940 มีนาวาเอก เอิร์นส์ ลินเดอมานน์ เป็นผู้บังคับการเรือคนแรกและคนเดียว
การรบของบิสมาร์ค
หลังการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันได้ทำการส่งกองเรือผิวน้ำและกองเรือดำน้ำออกปฏิบัติการจมกองเรือลำเลียงของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างหนัก และประสบความสำเร็จอย่างสูง ระหว่างฤดูหนาว ปี1940-1941 ในปฏิบัติการโจมตีกองเรือลำเลียงของอังกฤษในยุทธการเบอร์ลิน โดยเรือลาดตระเวณประจัญบาน ชาร์นฮอร์ส และ กไนเนาส์ ภายใต้การบรรชาการของ พลเรือเอก กึนเธอร์ ลึทเจนต์ ประสบความสำเร็จอย่างสูง สามารถจมและยึดเรือข้าศึกได้ 22 ลำ รวมระวางขับน้ำ 116,000 ตัน ฝ่ายเสนาธิการทหารเรือเยอรมันต้องการเห็นความสำเร็จในปฏิบัติการของกองเรือผิวน้ำอย่างต่อเนื่อง จึงตัดสินใจจะให้ส่งกองเรือรบผิวน้ำขนาดใหญ่ที่สุดที่เยอรมันมี ได้แก่ เรือประจัญบาน บิสมาร์ค และ ทีร์ปีตส์ เรือลาดตระเวณประจัญบาน กไนส์เนาส์ และ ชาร์นฮอร์สต์ เข้าปฏิบัติการต่อตีกองเรือผิวน้ำของฝ่ายพันธมิตรร่วมกัน แต่ปัญหาคือ ชาร์นฮอร์สต์ ต้องทำการซ่อมแซมเครื่องจักรใหญ่ในอู่แห้งจนถึงเดือนมิถุนายน ทีร์ปีตส์ เพิ่งขึ้นระวางประจำการในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และยังไม่พร้อมปฏิบัติการจนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิ มีเพียงบิสมาร์คเท่านั้น ที่เพิ่งเสร็จสิ้นการซ้อมในทะเลบอลติกและพร้อมออกปฏิบัติการ
หลังประสบความสำเร็จในการต่อเรือลาดตระเวณประจัญบานชั้น กไนส์เนาส์ จึงได้เริ่มโครงการต่อเรือประจัญบานชั้นบิสมาร์คขึ้น โดยได้เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1936 และปล่อยลงน้ำในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 โดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมัน และ โดโรธี ฟอน โลเวนเฟล หลานของ ออตโต ฟอน บิสมาร์ค อดีตรัฐบุรุษแห่งจักรวรรดิเยอรมัน มาเป็นประธานการปล่อยเรือลงน้ำ บิสมาร์ค ขึ้นระวางประจำการในวันที่ 24สิงหาคม ค.ศ. 1940 มีนาวาเอก เอิร์นส์ ลินเดอมานน์ เป็นผู้บังคับการเรือคนแรกและคนเดียว
การรบของบิสมาร์ค
หลังการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันได้ทำการส่งกองเรือผิวน้ำและกองเรือดำน้ำออกปฏิบัติการจมกองเรือลำเลียงของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างหนัก และประสบความสำเร็จอย่างสูง ระหว่างฤดูหนาว ปี1940-1941 ในปฏิบัติการโจมตีกองเรือลำเลียงของอังกฤษในยุทธการเบอร์ลิน โดยเรือลาดตระเวณประจัญบาน ชาร์นฮอร์ส และ กไนเนาส์ ภายใต้การบรรชาการของ พลเรือเอก กึนเธอร์ ลึทเจนต์ ประสบความสำเร็จอย่างสูง สามารถจมและยึดเรือข้าศึกได้ 22 ลำ รวมระวางขับน้ำ 116,000 ตัน ฝ่ายเสนาธิการทหารเรือเยอรมันต้องการเห็นความสำเร็จในปฏิบัติการของกองเรือผิวน้ำอย่างต่อเนื่อง จึงตัดสินใจจะให้ส่งกองเรือรบผิวน้ำขนาดใหญ่ที่สุดที่เยอรมันมี ได้แก่ เรือประจัญบาน บิสมาร์ค และ ทีร์ปีตส์ เรือลาดตระเวณประจัญบาน กไนส์เนาส์ และ ชาร์นฮอร์สต์ เข้าปฏิบัติการต่อตีกองเรือผิวน้ำของฝ่ายพันธมิตรร่วมกัน แต่ปัญหาคือ ชาร์นฮอร์สต์ ต้องทำการซ่อมแซมเครื่องจักรใหญ่ในอู่แห้งจนถึงเดือนมิถุนายน ทีร์ปีตส์ เพิ่งขึ้นระวางประจำการในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และยังไม่พร้อมปฏิบัติการจนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิ มีเพียงบิสมาร์คเท่านั้น ที่เพิ่งเสร็จสิ้นการซ้อมในทะเลบอลติกและพร้อมออกปฏิบัติการ
วันอังคารที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ยรรยง โอฬาระชิน เกิดปีพุทธศักราช 2481 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นสูง จากแผนกวิชาการถ่ายภาพและภาพยนตร์ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ เมื่อพุทธศักราช 2506 (ช่างภาพรุ่นที่ 6) เป็นศิษย์ที่เรียนจากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น อาจารย์ระบิล บุนนาค. อาจารย์รัตน์ เปสตันยี. ศาสตราจารย์พูน เกษจำรัส ศาสตราจารย์กิตติคุณ ชะอุ่ม ประเสริฐสกุล. อาจารย์จำรัส เอี่ยมพินิจ และอาจารย์ชูศักดิ์ ดิษยนันท์
การทำงาน หลังจบการศึกษาได้เข้าทำงานที่กองบัตรประชาชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นที่แรก หลังจากนั้นได้ย้ายไปทำงานในตำแหน่ง Photo Technician ที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ (FAO) ในปีพุทธศักราช 2512 ได้เข้าทำงานที่ธนาคารทหารไทย เป็นผู้ชำนาญการถ่ายภาพ จนเกษียณอายุงานในปีพุทธศักราช 2542
ผลงานด้านการถ่ายภาพ ยรรยง โอฬาระชิน เริ่มส่งภาพเข้าประกวดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2509 จนถึงปัจจุบันได้รับรางวัลและเลือกนำออกแสดงทั้งประเภทภาพขาวดำ ภาพสี และสไลด์สี มากกว่า 100 ภาพ ผลงานภาพขาวดำได้รางวัลยอดเยี่ยม ถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาฯ คัดเลือกภาพรางวัลยอดเยมด้วยพระองค์เอง จำนวน 2 ภาพ คือภาพที่ชื่อ "บินเดี่ยว" และภาพที่ชื่อ "ธารน้ำใส"
ยรรยง โอฬาระชิน เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสยามคัลเลอร์สไลด์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2517 ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาของสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ
ยรรยง โอฬาระชิน ได้รับเกียรตินิยมทางการถ่ายภาพจากสมาคมถ่ายภาพต่าง ๆ ดังนี้
Hon.F.PST, F.PST, ES.PST จากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
E.FIAP จากสหพันธ์ถ่ายภาพนานาชาติประเทศสวิสเซอร์แลนด์
A.RPS จากราชสมาคมแห่งสหราชอาณาจักร ในพระบรมราชินูปถัมภ์
Hon.F.SCC จากสมาคมถ่ายภาพบริดจ์สไลด์คลับ ฮ่องกง
F.BPS จากสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ
A.35mmPS จากสมาคมถ่ายภาพ 35 มม. ฮ่องกง
Hon.E.YMCAPC จากสมาคมถ่ายภาพ YMCA ฮ่องกง
วันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
โภชนาการ เป็นสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ นักโภชนาการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพซึ่งมีความรู้ความชำนาญในสาขานี้
โภชนาการกับสุขภาพ
ร่างกายต้องการกรดอะมิโนเพื่อสร้างโปรตีนขึ้นใหม่และเพื่อแทนที่โปรตีนที่เสื่อมสภาพซึ่งจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ในร่างกายของสัตว์ ความต้องการกรดอะมิโนชนิดใดๆจะขึ้นอยู่กับว่ากรดอะมิโนชนิดนั้นๆเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น (ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้) หรือกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้จากสารประกอบไนโตรเจน) การบริโภคอาหารที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสัตว์
กรดอะมิโน
วิตามิน
กรดไขมัน
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
กระบี่ใจพิสุทธิ์เป็นอีกหนึ่งผลงานของกิมย้งที่เขียนได้สะเทือนอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นเรื่องราวของตัวเอกที่ถูกใส่ร้าย จนต้องถูกจองจำในคุกและถูกแย่งชิงหญิงที่ตนรักไป ถูกทัณฑ์ทรมาน จนกลายเป็นคนพิการ แต่ยังมีวาสนาในคราเคราะห์ ได้พบพานยอดคนภายในคุก สุดท้ายหนีออกมาได้ แต่กลับถูกชาวยุทธตามล่า ด้วยเพราะคิดว่าเป็นพวกเดียวกับพรรคมาร สุดท้ายสำเร็จพลังเทพสาดส่อง และวิชาดาบมาร กลายเป็นยอดคน เรื่องนี้แฝงไปด้วยปรัชญาชีวิตอันทรงคุณค่า มิควรพลาดอย่างยิ่ง ฉบับแปลของ น.นพรัตน์ เดิมใช้ชื่อว่า หลั่งเลือดมังกร แล้วเปลี่ยนเป็น กระบี่ใจพิสุทธิ์ ถ้าของ จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อว่า มังกรแก้ว เวลาซื้อก็อย่าซื้อซ้ำกันนะครับ
ตัวละครที่สำคัญ 1. ฮุ้นเต็ก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)