วันเสาร์ที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

อินุซึกะ คิบะ
อินุซึกะ คิบะ
อินุซึกะ คิบะ ตัวละครจากการ์ตูนเรื่อง นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ

อินุซึกะ คิบะ ตระกูลอินุซึกะ
คำว่า อินุ (犬) ในนามสกุล อินุซึกะ มีความหมายว่า สุนัข ซึ่งทุกคนในตระกูลอินุซึกะจะมีสุนัขประจำตัว และที่แก้มของคนในตระกูลจะทาสีไว้ที่แก้ม

วันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


คิระ อิซึรุ (「吉良イヅル」 Kira Izuru) เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่องเทพมรณะ และเป็นยมทูตรองหัวหน้าหน่วยที่ 3 แห่ง 13 หน่วยพิทักษ์

คิระ อิซึรุ ลักษณะ/อุปนิสัย
คิระ อิซึรุ เป็นนักเรียนสถาบันวิญญาณชินโอ โดยมีคะสอบเข้าเป็นที่ 1 ซึ่งเข้าเรียนตอนเดียวกับพวกลูเคีย ปัจจุบันเป็นรองหัวหน้าหน่วย 3

The Observer ประวัติ

บทบาท
อิซึรุ ฮินาโมริ และเร็นจิ ได้ช่วยรุ่นพี่มา 2 คน แต่ก็ปราบฮอลโลว์ยักษ์ไม่สำเร็จ แถมจำนวนฮอลโลว์ยังเพื่มขึ้นเรื่อย แล้วในเวลาคับขันนั้น หัวหน้าและรองหน่วย 5 (ไอเซ็น กับ อิจิมารุ) ก็โผล่มาช่วยทันเวลา

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

การวิจัยดำเนินงาน
การวิจัยดำเนินงาน บ้างเรียก การวิจัยปฏิบัติการหรือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรียกย่อ ๆว่า โออาร์ (OR : operations research) เป็นการใช้แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ สถิติ และ อัลกอริทึมช่วยในการตัดสินใจ โดยปกติจะใช้การวิจัยดำเนินงานในการวิเคราะห์ระบบที่มีอยู่ในโลกจริงที่มีความซับฐ้อน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสมที่สุด การวิจัยดำเนินงานถือเป็นสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ประยุกต์
คำว่าการวิจัยดำเนินงานและวิทยาการบริหารจัดการ นั้นปกติจะใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน โดยวิทยาการบริหารจัดการนั้นปกติจะมีเฉพาะเจาะจงกับปัญหาทางด้านการบริหาธุรกิจมากกว่า ส่วนการวิจัยดำเนินงานจะเกี่ยวกับวิศวกรรมอุตสาหการซึ่งมองปัญหาเชิงวิศวกรรม โดยใช้เทคนิคโออาร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดำเนินงานคือ สถิติ การหาค่าเหมาะที่สุด การสโทแคสติก (การเฟ้นสุ่ม) ทฤษฎีแถวคอย ทฤษฎีเกม และ การจำลอง และเนื่องจากโออาร์มีการใช้การคำนวณเชิงคอมพิวเตอร์จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ นักวิจัยดำเนินงานปกติจะต้องพัฒนาหรือปรับปรุงซอฟต์แวร์เอง
การวิจัยดำเนินงานมีจุดเด่นตรงที่ความสามารถในการพัฒนาระบบทั้งระบบ ไม่เฉพาะเจาะจงกับการแก้ไขปัญหาย่อยเพียงอย่างเดียว โดยนักวิจัยดำเนินงานจะแก้ปัญหาโดยพิจารณาว่า วิธีหรือเทคนิคใดที่เหมาะสมกับธรรมชาติของระบบนั้น ๆ พิจารณาเป้าหมายของการปรับปรุง และ เงื่อนไขเประสิทธิภาพเชิงเวลา และโดยมากแล้วปัญหาทางเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเองมักไม่สามารถแก้ได้ด้วยเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเท่านั้น ต้องอาศัยเทคนิคอื่นมาร่วมแก้ไขปัญหาด้วย

วันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พระประวัติ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงประทับที่วังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นวังที่มีความใหญ่โตโอ่อ่าที่สุด กอรปกับทรงมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย จึงได้รับการกล่าวขานอีกฉายาหนึ่งจากคนทั่วไปว่า " จอมพลบางขุนพรหม " หรือ " เจ้าฟ้าวังบางขุนพรหม " ทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร ทรงเษกสมรสกับ หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร (ไชยันต์) (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย) มีพระโอรสพระธิดา ๘ พระองค์ คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงเษกสมรสกับ หม่อมสมพันธ์ บริพัตร ณ อยุธยา (ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) มีพระโอรสพระธิดา ๒ พระองค์ คือ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต (๕ ธันวาคม ๒๔๔๗ - ๑๕ กันยายน ๒๕๐๒) เษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล) พระธิดาใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย

  • หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงศิริรัตนบุษบง (๔ มกราคม ๒๔๔๙ - ๖ กรกฎาคม ๒๕๓๓) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล

    • นายฤทธิ์ดำรง ดิศกุล สมรสกับ นางแก้วตา (หังสสูต) ดิศกุล

      • เด็กชายอาชวฤทธิ์ ดิศกุล
        เด็กชายอวิรุทธ์ ดิศกุล
        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวงษ์วิจิตร (๑๖ มีนาคม ๒๔๕๐ - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖)
        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพิสิฐสบสมัย (๒๑ กันยายน ๒๔๕๑ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร

        • หม่อมราชวงศ์หญิงพิลาศลักษณ์ (กิติยากร) บุณยะปานะ สมรสกับ นายบัณฑิต บุณยะปานะ

          • นายพิทูร บุณยะปานะ สมรสกับ นางปองสุข (บุณยะประสิทธิ์) บุณยะปานะ
            นางศิถี (บุณยะปานะ) ศรีวิกรม์ สมรสกับ นายชาญ ศรีวิกรม์
            นางสิรี (บุณยะปานะ) อุดมฤทธิรุจ สมรสกับ นายกำพล อุดมฤทธิรุจ
            พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจุไรรัตนศิริมาน (๒๔ ธันวาคม ๒๔๕๒ - ๒๕๔๔) เษกสมรสกับ พลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา

            • หม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล สมรสกับ นางอมรา เหรียญสุวรรณ (หย่า)
              พันโท หม่อมราชวงศ์ถวัลย์มงคล โสณกุล สมรสกับ คุณหญิงสนทนา (หงสกุล) โสณกุล ณ อยุธยา

              • หม่อมหลวงธีรเชษฐ โสณกุล
                หม่อมหลวงรัตนมงคล โสณกุล
                หม่อมราชวงศ์หญิงสุมาลยมงคล (โสณกุล) โชติกเสถียร สมรสกับ นายจุลเสถียร โชติกเสถียร

                • นายจิรมงคล โชติกเสถียร
                  นางศิริมงคล (โชติกเสถียร) จีนะวิจารณะ สมรสกับ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ
                  นายศุภมงคล โชติกเสถียร
                  หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล สมรสกับ นางรัชนี คชเสนี (หย่า)

                  • หม่อมหลวงมิ่งมงคล โสณกุล สมรสกับ คุณหญิงบูลย์วิภา (ทองไข่มุกข์) โสณกุล ณ อยุธยา
                    หม่อมหลวงอรมงคล โสณกุล
                    หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล
                    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทรกานตมณี (๒๔ กันยายน ๒๔๕๕ - ๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๐) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์

                    • หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น (สวัสดิวัตน์) กิติยากร สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร

                      • หม่อมหลวงชาครีย์ กิติยากร
                        หม่อมหลวงทยา กิติยากร
                        หม่อมหลวงรมย์ กิติยากร
                        หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร (วุฒิชัย) สวัสดิวัตน์

                        • หม่อมหลวงศศิภา สวัสดิวัตน์
                          หม่อมหลวงจันทราภา สวัสดิวัตน์
                          พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง(สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังไม่มีพระนาม)
                          พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปรียชาติสุขุมพันธุ์ (สิ้นพระชนม์ตอนพระชันษาได้ ๒ ขวบ) (๔ มิถุนายน ๒๔๖๓ - ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๖๕)
                          พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอินทุรัตนา (๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ - ) เษกสมรสกับ นายสมหวัง สารสาส (หย่า)

                          • นายธรณินทร์ สารสาส สมรสกับ นางสุรีรัตน์ สีดาวรพงษ์ (หย่า)
                            นางสินนภา (สารสาส) ตาราไต สมรสกับ นายอนันต์ ตาราไต (หย่า)
                            นายพญาณินทร์ สารสาส
                            พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖ - ๒๕๔๖) เษกสมรสกับหม่อมดุษฎี (ณ ถลาง)บริพัตร ณ อยุธยา

                            • หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมรสกับ นางนุชวดี (บำรุงตระกูล) บริพัตร ณ อยุธยา (หย่า)ปัจจุบันสมรสกับ นางสาวิตรี (ภมรบุตร) บริพัตร ณ อยุธยา

                              • หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร (จากการสมรส กับ นางนุชวดี บำรุงตระกูล)
                                หม่อมหลวงวราภินันท์ บริพัตร
                                พันตรี หม่อมราชวงศ์วโรรส บริพัตร สมรสกับ นางพัฒนาพร (นิยมศิริ) บริพัตร ณ อยุธยา

                                • หม่อมหลวงวรพินิต บริพัตร พระโอรส-ธิดา

                                  พระนิพนธ์

                                  เพลงวอลทซ์ปลื้มจิตต์
                                  เพลงวอลทซ์ประชุมพล
                                  เพลงสุดเสนาะ
                                  เพลงมณฑาทอง
                                  เพลงวอลทซ์เมฆลา
                                  เพลงมหาฤกษ์
                                  เพลงสรรเสริญเสือป่า
                                  เพลงวอลทซ์โนรี
                                  เพลงสาครลั่น
                                  เพลงโศรก
                                  เพลงนางครวญ ๓ ชั้น เพลงฝรั่ง

                                  เพลงแขกมอญบางขุนพรหม
                                  เพลงสุดสงวน ๒ ชั้น
                                  เพลงเขมรพวง ๓ ชั้น
                                  เพลงเขมรชมจันทร์
                                  เพลงสารถี ๓ ชั้น
                                  เพลงสบัดสบิ้ง
                                  เพลงทยอยนอก
                                  เพลงทยอยเขมร
                                  เพลงทยอยในเถา
                                  เพลงแขกเห่
                                  เพลงถอนสมอ
                                  เพลงแขกมัสซีรี
                                  เพลงครอบจักรวาฬเถา
                                  เพลงบุหลันชกมวย ๓ ชั้น
                                  เพลงเขมรใหญ่เถา
                                  เพลงพม่าเถา
                                  เพลงแขกสี่เกลอเถา
                                  เพลงแขกสายเถา
                                  เพลงบาทสกุณี
                                  เพลงขับไม้
                                  เพลงเขมรโพธิสัตว์เถา เพลงไทยแท้

                                  เพลงแขกสายเถา
                                  เพลงอาถรรพ์เถา
                                  เพลงแขกสาหร่าย ๓ ชั้น
                                  เพลงสมิงทองมอญเถา
                                  เพลงอาเฮีย
                                  เพลงสารถี ๓ ชั้น เพลงไทยเดิม ซึ่งเป็นทางและทำนองสำหรับใช้บรรเลงพิณพาทย์โดยตรง

                                  เพลงต้นแขกไทร ๒ ชั้น
                                  เพลงครวญหาเถา
                                  เพลงกำสรวญสุรางค์
                                  เพลงอักษรสำอางค์และเพลงสุรางค์จำเรียง
                                  เพลงจีนลั่นถัน
                                  เพลงจีนเข้าห้อง
                                  เพลงน้ำลอดใต้ทรายเถา
                                  เพลงขยะแขยง ๓ ชั้น
                                  เพลงจีนเก็บบุปผาเถา
                                  เพลงดอกไม้ร่วง
                                  เพลงเทวาประสิทธิ์เถา
                                  เพลงวิลันดาโอด
                                  เพลงจิ้งจกทองเถา
                                  เพลงตนาวเถา
                                  เพลงพวงร้อยเถา
                                  เพลงถอนสมอเถา
                                  เพลงพระจันทรครึ่งซีกเถา เพลงไทยเดิม ทรงพระนิพนธ์เมื่อเสด็จจากกรุงเทพฯ แล้วไปประทับอยู่ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย
                                  ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการสำคัญทั้งฝ่ายกลาโหมและมหาดไทยหลายรัชกาล ด้วยทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่กิจการที่ทรงรับภาระเป็นอย่างดียิ่งทั้งทางด้านการทหาร การปกครอง การสาธารณสุข การศึกษา ทรงวางรากฐานความเจริญของกองทัพเรือไทย กองทัพบก กระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย

                                  กรมพระนครสวรรค์วรพินิตกรมพระนครสวรรค์วรพินิต การรับราชการ

                                  เสนาธิการทหารบก (๒๔๔๖ - ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗)
                                  ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๕๓)
                                  องคมนตรี (๒๔ ตุลาคม ๒๔๕๓ - ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘)
                                  เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ (๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๓ - ๑๘ มิถุนายน ๒๔๖๓)
                                  เสนาธิการทหารบก และผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ (๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๓ - ๒๓ สิงหาคม ๒๔๖๙)
                                  อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม (๑๒ กรกฎาคม ๒๔๖๓ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)
                                  อภิรัฐมนตรีสภา (๒๘ พฤษภาคม ๒๔๖๘ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)
                                  เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๙ - ๓๑ มกราคม ๒๔๗๑)
                                  เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (๑ เมษายน ๒๔๗๑ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)
                                  อุปนายกสภาป้องกันพระราชอาณาจักร (๗ เมษายน ๒๔๗๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)
                                  ประธานอภิรัฐมนตรีสภาและเสนาบดีสภา (๒๓ กรกฎาคม ๒๔๗๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)
                                  ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร (๒๕ กรกฎาคม ๒๔๗๒ - ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๒)(๙ เมษายน ๒๔๗๓ - ๘ พฤษภาคม ๒๔๗๓)(๑๙ มีนาคม ๒๔๗๓ - ๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๔) บั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ
                                  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงสีซอได้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมาทรงต่อเพลงกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ จนมีฝีพระหัตถ์ดีเยี่ยม และทรงต่อเพลงกับเจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์ เป็นครั้งคราว
                                  พระองค์ทรงเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ระนาด ซอ ทั้งยังทรงเปียโนได้ดีอีกด้วย เมื่อพระองค์เสด็จมาประทับที่วังบางขุนพรหม ทรงมีทั้งวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายประจำวัง
                                  วงปี่พาทย์นั้นเริ่มแรกทรงใช้วงดนตรีมหาดเล็กเรือนนอก ซึ่งเป็นของตระกูลนิลวงศ์จากอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาทรงได้วงดนตรีของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) และจางวางทั่ว พาทยโกศล ซึ่งมีนักดนตรีและนักร้องที่มีชื่อเสียงประจำวง เช่น
                                  ส่วนวงเครื่องสายนั้นเป็นวงที่ทรงบรรเลงร่วมกับพระราชธิดา พระประยุรญาติ และผู้ใกล้ชิด มีนายสังวาล กุลวัลกี เป็นผู้ฝึกสอน นักดนตรีและนักร้อง เช่น
                                  ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และพระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ นั้น วังบางขุนพรหมเป็นศูนย์กลางการประชันวงปี่พาทย์ การแสดงดนตรี และการละเล่นต่างๆ และเป็นที่เกิดของเพลงที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ส่วนวงปี่พาทย์วังบางขุนพรหมนั้น ก็เป็นวงที่มีชื่อเสียงมาก และได้เข้าร่วมในการประชันวงที่วังบางขุนพรหมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ซึ่งได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศ เป็นต้นตำรับการขับร้องที่สืบทอดมาแต่โบราณ
                                  ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ทรงโปรดใช้เวลาว่างส่วนพระองค์ในการศึกษาวิชาดนตรี ทั้งด้านประสานเสียง และการประพันธ์เพลง จนทรงสามารถประพันธ์เพลง และทำหน้าที่เป็นวาทยากรได้อย่างคล่องแคล่ว เคยทรงเล่าประทานพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา พระธิดา ฟังว่า "…ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ ทูลหม่อม (รัชกาลที่ ๕) สั่งให้พ่อไปเรียนวิชาทหารเพื่อกลับมาปรับปรุงกองทัพไทย พ่อก็ไปเรียนวิชาทหาร บางครั้งพ่อเบื่อบางวิชาที่ต้องเรียนจนทนไม่ไหว ต้องเก็บพ็อกเก็ตมันนี่เอาแอบไปเรียนดนตรี แอบไปเรียนเพราะพวกผู้ใหญ่สมัยนั้นเห็นว่าวิชาดนตรีไม่เหมาะกับชายชาติทหาร เมื่อได้เรียนดนตรีที่พ่อรักก็สบายใจ เกิดความอดทนที่จะเรียนและทำงานที่พ่อเบื่อ…"
                                  ทรงเริ่มแต่งเพลงสากลก่อนเพลงไทย เพลงชุดแรกๆ มีเพลงวอลทซ์โนรี และเพลงจังหวะโปลก้า ชื่อเพลงมณฑาทอง เป็นต้น
                                  ทรงนิพนธ์เพลงไทยประสานเสียงแบบเพลงสากล เช่น เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เพลงสาครลั่น และทรงแยกเสียงประสานเพลงไทยสำหรับบรรเลงด้วยวงโยธวาฑิต ทำให้แตรวงบรรเลงเพลงไทยได้ไพเราะ มีหลักการประสานเสียงดียิ่งขึ้น ได้ทรงประดิษฐ์เพลงแตรวงไว้หลายเพลง เช่น โหมโรงสะบัดสะบิ้ง เพลงเขมรใหญ่ เถา เพลงแขกมัสหรี เถา เพลงแขกสี่เกลอ เถา
                                  เพลงที่ทรงนิพนธ์ไว้ทั้งสำหรับวงโยธวาฑิตและปี่พาทย์ เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา (พ.ศ. ๒๔๕๓) เพลงพม่าห้าท่อน เถา เพลงแขกสาย เถา (พ.ศ. ๒๔๗๑) เพลงพ่าห้าท่อน เถา เพลงพวงร้อย เถา
                                  ทรงนิพนธ์เพลงเถาสำหรับปี่พาทย์ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น เพลงเทวาประสิทธิ์ เถา (พ.ศ. ๒๔๗๑) เพลงอาถรรพ์ เถา (พ.ศ. ๒๔๗๑) เพลงสมิงทองเทศ เถา (พ.ศ. ๒๔๗๓) และภายหลังเมื่อเสด็จไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียแล้ว ยังได้ทรงนิพนธ์เพลงสำหรับวงปี่พาทย์ไม้แข็งขึ้นอีกหลายเพลง เช่น เพลงน้ำลอดใต้ทราย เถา (พ.ศ. ๒๔๘๐) เพลงนารายณ์แปลงรูป เถา (พ.ศ. ๒๔๘๐) และเพลงสุดถวิล เถา (พ.ศ. ๒๔๘๔)
                                  ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ทรงปรับปรุงวงดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารเรือ จนสามารถบรรเลงเพลงประเภทซิมโฟนีได้ดีเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน

                                  นายทรัพย์ เซ็นพานิช ระนาดเอก
                                  จ่าเอกกมล มาลัยมาลย์ ระนาดเอก
                                  นายสาลี่ มาลัยมาลย์ ระนาดเอก ฆ้องวง
                                  จ่าโทฉัตร สุนทรวาทิน ระนาดทุ้ม
                                  นายศิริ ชิดท้วม ระนาดทุ้ม
                                  นายช่อ สุนทรวาทิน ฆ้องวงใหญ่
                                  ร้อยเอก นพ ศรีเพชรดี ฆ้องวงใหญ่
                                  จ่าสิบเอก พังพอน แตงสืบพันธุ์ ฆ้องวงเล็ก
                                  นายละม้าย พาทยโกศล เครื่องหนัง
                                  จ่าสิบเอก ยรรยงค์ โปร่งน้ำใจ เครื่องหนัง
                                  นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ปี่ใน ซอสามสาย
                                  นางเจริญ พาทยโกศล นักร้อง
                                  จ่าเอก อิน อ๊อกกังวาล นักร้อง
                                  นางสาวสอาด อ๊อกกังวาล นักร้อง
                                  นางเทียม เซ็นพานิช นักร้อง
                                  คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ นักร้อง
                                  นางสว่าง คงลายทอง นักร้อง
                                  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซอสามสาย
                                  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง ซอด้วง
                                  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี ซอด้วง
                                  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงศ์วิจิตร ซออู้
                                  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน ซออู้
                                  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย จะเข้
                                  คุณร่ำ บุนนาค จะเข้
                                  หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ซออู้
                                  คุณบุญวิจิตร อมาตยกุล ซออู้
                                  คุณสุดา จาตุรงคกุล ขลุ่ย
                                  คุณหญิงแฉล้ม เดชประดิยุทธ์ โทน รำมะนา
                                  คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ นักร้อง
                                  นางหอม สุนทรวาทิน นักร้อง
                                  นางเทียม กรานต์เลิศ นักร้อง
                                  นางสว่าง คงลายทอง นักร้อง