วันเสาร์ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

อำเภอกันตัง
สารบัญ

กันตัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตรัง อยู่ห่างจากตัวเมืองตรังเพียง 24 กิโลเมตร ในอดีตกันตังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำสำคัญมาแต่โบราณเมื่อพระยารัษฎาฯ มารับตำแหน่ง พ.ศ. 2433 ได้ดำเนินการพัฒนาเมืองตรัง(กันตัง)ทุกด้าน โดยมีจุดมุ่งหมายจะทำให้เป็นเมืองค้าขาย เริ่มจากการย้า! ยเมืองจากตำบลควนธานีไปตั้งที่ตำบลกันตัง และสร้างความเจริญแก่เมืองตรัง (กันตัง)อย่างมาก การพัฒนาในสมัยพระยารัษฎาฯ ที่จะนำไปสู่ความเป็นเมืองท่าค้าขายมีอยู่หลายด้าน เริ่มจากการแก้ปัญหาความไม่สงบเรื่องโจรผู้ร้าย และส่งเสริมอาชีพพื้นฐานคือการเกษตร เริ่มต้นจากเกษตรยังชีพในครัวเรือน และขยายเป็นเกษตรเพื่อการค้า โดยใช้กุศโลบายต่าง ๆ และระบบกลไกข! องรัฐ เช่น การยกเว้นเก็บ� �าษีอากรและเกณฑ์แรงงานแก่ผู้บุกเบิกทำนา จนสามารถส่งข้าวขายปีนังได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ชาวเมืองอดข้าว ต้องซื้อจากปีนังอยู่เสมอ การสร้างถนนและสะพานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าในท้องถิ่น และส่งขายต่างประเทศทางท่าเรือกันตัง พระยารัษฎาฯ ส่งเสริมบริษัทตัวแทนซื้อขายสินค้าที่ท่าเรือกันตัง สินค้าสำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ เป! ็ด ไก่ สุกร โค กระบือ พริกไทย ข้าว ตับจาก ไม้เคี่ยม ไม้โปรง เป็นต้น การพัฒนาของพระยารัษฎาฯ สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในส่วนกลาง ที่รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบราชการ และนำพาชาติเข้าสู่การพัฒนาให้เทียบทันอารยประเทศ การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ที่กำหนดให้มีทางแยกจากทุ่งสงมุ่งสู่ท่าเรือกันตัง เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2444 ส่วนในสายแยกตั้งแต่ทุ่งสงถึงกันตัง เ�! ��ิดการโดยสารระหว่างกันต� �ง - ห้วยยอด วันที่ 1 เมษายน 2456 และต่อมา เปิดการโดยสารระหว่างห้วยยอดกับทุ่งสง ในวันที่ 1 มกราคม 2446(นับปีแบบเก่า ขึ้นศักราชใหม่เดือนเมษายน เดือนมกราคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี) เส้นทางรถไฟนี้ส่งเสริมนโยบายเมืองท่าค้าขายของพระยารัษฎาฯ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ พระยารัษฎาฯ ยังได้มองการณ์ไกล ที่จะทำให้กันตังเป็นท่าเรือค้ากับต่างประเทศได้เต็มศักยภาพ โดยเสนอทา�! ��รัฐบาลจัดสร้างท่าเรือน้ำลึก แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนใน พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากระทรวงมหาดไทย และเริ่มการปกครองระบบมณฑลขึ้นเป็นครั้งแรก หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกเดิมเปลี่ยนเป็นมณฑลภูเก็ต เมืองตรังเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภูเก็ต
ในปี พ.ศ. 2434 ทางการได้ยุบเมืองปะเหลียนรวมกับเมืองตรัง ต่อมามีประกาศข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.115(พ.ศ. 2439) แบ่งท้องที่การปกครองเป็นอำเภอ จังหวัดตรังมี 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (กันตัง) อำเภอบางรัก อำเภอเขาขาว(ห้วยยอด) อำเภอสิเกา และอำเภอปะเหลียน มีตำบลรวม 109 ตำบล
ต่อมา พ.ศ. 2444 พระยารัษฎาฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต มีผู้ว่าราชการเมืองตรังต่อจากพระยารัษฎาฯ 5 คน พอถึง พ.ศ. 2458 สมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (สิน เทพหัสดินฯ) เป็นผู้ว่าราชการเมือง มหาอำมาตย์โท พระยาสุรินทรราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ฯ) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เห็นว่าเมืองที่กันตังอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม เนื่องจากตอนสงครามโลก! ครั้งที่ 1 เรือดำน้ำของเยอรมันชื่อเอ็มเด็น ได้ลอยลำยิงถล่มปีนัง หากมีสงครามเกิดขึ้นอีก เมืองตรังอาจจะถูกยิงเช่นปีนัง รวมทั้งพื้นที่ลุ่ม และมีโรคระบาด หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จฯ เมืองตรัง พ.ศ. 1458 แล้ว จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตย้ายเมืองไปตั้งที่อำเภอบางรัก และได้ย้ายไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2458
ปัจจุบันกันตังยังคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญของจังหวัดตรัง โดยมีการส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเทียบเรือกันตังโดยใช้เรือลากจูง ให้บริการระหว่างเส้นทางกันตัง - ปีนัง - กันตัง สัปดาห์ละสองเที่ยว โดยสินค้าที่ส่งผ่านท่าเรือกันตังจะเป็นยางพาราและไม้ยางพาราแปรรูป นอกจากนี้แล้วยังมีสินค้าเทกองประเภท แร่ยิปซั่ม ถ่านหิน



ประวัติ
อาณาเขต

อำเภอกันตังแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 1 เขตเทศบาล 13 ตำบล 13 อบต และ 83 หมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติด อ.เมืองตรัง และ อ.สิเกา
ทิศใต้ ติด ทะเลอันดามัน
ทิศตะวันออก ติด อ.ย่านตาขาว และ อ.ปะเหลียน
ทิศตะวันตก ติด อ.สิเกา และ ทะเลอันดามัน
เทศบาลเมืองกันตัง
ควนธานี
บางหมาก
บางเป้า
วังวน
กันตังใต้
โคกยาง
คลองลุ
ย่านซื่อ
บ่อน้ำร้อน
บางสัก
นาเกลือ
เกาะลิบง
คลองชีล้อม

สถานที่น่าสนใจ
การเดินทางจากอำเภอกันตังไปอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดตรังวัดเป็นระยะทางโดยประมาณดังนี้

กิ่งอำเภอ หาดเจ้าสำราญประมาณ 64.98 กิโลเมตร
อำเภอ นาโยงประมาณ 39.35 กิโลเมตร
อำเภอ ปะเหลียนประมาณ 65.01 กิโลเมตร
อำเภอ ย่านตาขาวประมาณ 43.73 กิโลเมตร
อำเภอ รัษฎาประมาณ 64.85 กิโลเมตร
อำเภอ วังวิเศษประมาณ 70.12 กิโลเมตร
อำเภอ สิเกาประมาณ 52.55 กิโลเมตร
อำเภอ ห้วยยอดประมาณ 53.58 กิโลเมตร
อำเภอ เมืองประมาณ 26.60 กิโลเมตร

ไม่มีความคิดเห็น: