วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
การกล่อมเกลาทางการเมือง หรือ การเรียนรู้ทางการเมือง หรือสังคมประกิตทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจศึกษากันมานานแล้ว ในยุคที่รัฐศาสตร์ได้รับความสนใจศึกษาในเชิงปรัชญา นักปรัชญาการเมืองบอกว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคคลสำหรับความเป็นพลเมือง (Citizenship) ในแบบที่พึงปรารถนาของรัฐ
ในบทสนทนา (Dialoque) เรื่อง "อุตมรัฐ" หรือ "The Republic" ของ เพลโต้ (Plato) นักปรัชญาการเมืองสมัยกรีกโบราณ ซึ่งเป็นบทสนทนาหนึ่งห้าเรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของเพลโต้ Plato' s Great Five Dialoques) มีข้อความที่กล่าวถึงการให้การศึกษาและการให้ประสบการณ์แก่เด็กในนครรัฐว่าเป็นช่องทางหรือวิธีการสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองที่เหมาะสม เพลโต้จึงได้วางโครงการฝึกอบรมคน เพื่อให้เป็นพลเม�! �องที่มีค่านิยมและมีความโน้มเอียงพื้นฐานที่สอดคล้องกับบทบาทที่เขาจะมีส่วนร่วมในนครรัฐ ซึ่งจะเป็นบทบาทที่แตกต่างกันไป
เพลโต้ อธิบายว่า ค่านิยมของพลเมืองนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเสถียรภาพและความเป็นระเบียบของสถาบันทางการเมืองด้วย ในทำนองเดียวกัน อริสโตเติล (Aristotle) ศิษย์เอกจากสำนักวิชาการอะแคเดมี่ (Academy) ของเพลโต้ กล่าวเน้นว่า กระบวนการให้การศึกษาทางการเมือง (Political Education) เป็นกระบวนการสร้างค่านิยมและความโน้มเอียงทางการเมือง (Dawson and Prewitt 1969, 6-7)
นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ ได้กล่าวถึงความหมายของการกล่อมเกลาทางการเมืองไว้หลายท่าน ขอยกตัวอย่างมากล่าวถึงโดยสังเขปได้แก่
อัลมอนด์และเพาเวลล์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นการนำมาซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแก่ประชาชนในระบบการเมือง (Almond and Powell 1966, 64) โดยเป็นกระบวนการสร้างและการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมืองจากคนรุ่นไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง หรือทำให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งของระบบการเมือง ที่ได้รับจากประสบการณ�! �ทางการเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา (Almond and Powell 1980, 36) ซึ่งจะช่วยรักษาวัฒนธรรมทางการเมืองเดิมเอาไว้ หรือนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมทางการเมืองเดิม หรือก่อให้เกิดการก่อตัวของวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ขึ้นมาก็ได้ ในเชิงการวิเคราะห์ระบบการเมืองกระบวนการเรียนรู้หรือการกล่อมเกลาทางการเมืองนี้ ในทัศนะของแอลมอนด์ จัดเป็นหน้าที่หนึ่งในระบ�! ��การเมืองตามตัวแบบการวิ� �คราะห์เชิงโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional Approach ) โดยเป็นหน้าที่นำเข้าสู่ระบบการเมือง หรือ Input Functions ซึ่งทำหน้าที่บำรุงรักษาระบบให้คงอยู่ ตามตัวแบบนี้ แอลมอนด์ตั้งสมมติฐานว่า ในแต่ละระบบการเมือง จะมีการสืบทอดวัฒนธรรมและโครงสร้างของระบบการเมืองยู่ตลอดเวลา และการสืบทอดดังกล่าวนี้ เป็นไปได้ด้วยกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง
อีสตันและเดนนิส (Easton and Dennis 1969, 7 ) อธิบายว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นวิธีการที่สังคมส่งผ่านความโน้มเอียงทางการเมือง อันได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ปทัสถาน และค่านิยม จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีกระบวนการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ สมาชิกใหม่ของระบบการเมืองซึ่งได้แก่ เด็ก ๆ ก็จะต้องแสวงหารูปแบบความโน้มเอียงเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองใหม่ ๆ อย�! �่ตลอดเวลา อันจะย่อมมีผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบการเมือง
รูปแบบของการกล่อมเกลาทางการเมือง
พาย (Lucian Pye 1962, 44-48) กล่าวไว้ว่า กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง มีลำดับขั้นตอนจำแนกได้ 4 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนแรก เป็นขั้นมูลฐานเริ่มแรกสุก เมื่อคนเกิดมาจะได้รับการอบรมเป็นช่วงตอนที่ทารกได้รับการฝึกฝนให้เป็นสมาชิกของสังคม ซึ่งเป็นตอนที่เด็กจะเกิดภาวะการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ค่านิยม ความชำนาญ ความสัมพันธ์กับบทบาทต่าง ๆ ของบุคคล ความรู้ทั่วไปและสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นซึ่งคนในสังคมนั้นจะต้องเรียนรู้ อันเรียกได้ว่าเป็นขั้นของการสร้างความโน้มเอีย�! �� (Orientation) ให้บุคคลเข้าสู่ความเป็นมนุษย์ โดยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเรียนรู้วิธีในการดำเนินชีวิตหรือการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
ขั้นตอนที่สอง เป็นขั้นที่ก่อให้เกิดบุคลิกภาพต่อบุคคล อันเป็นประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อจิตใต้สำนึก ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดบุคลิกภาพมูลฐานของบุคคลนั้น ในขั้นตอนนี้ บุคคลจะมีความสำนึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม หรือที่เรียกว่ามีตัวตน (Identity)
ขั้นตอนที่สาม เป็นขั้นที่บุคคลได้รับการกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นขั้นตอนที่บุคคลเริ่มมีความรู้สึก มีความสำนึก ถึงโลกทางการเมืองรอบ ๆ ตัวเขา และได้รู้ รวมทั้งมีทัศนะ กับเข้าใจถึงเหตุการณ์ความเป็นไปทางการเมืองต่าง ๆ ที่เรียกได้ว่าเกิดวัฒนธรรมทางการเมือง ผ่านตัวแทนการกล่อมเกลา (Political Socializing Agents)
ขั้นที่สี่ เป็นขั้นตอนที่บุคคลผ่านจากการเป็นสมาชิกของการเมืองที่ไม่ได้มีกิจกรรม (passive) มาเป็นผู้เข้าร่วมที่มีบทบาททางการเมือง ขั้นตอนนี้เรียกว่า การเลือกสรรทางการเมือง (Political Recriutment) โดยเป็นขั้นตอนที่บุคคลจะมีความเข้าใจต่อการเมืองอย่างลึกซึ้งและมีทัศนคติทางการเมือง หรือที่เรียกว่ามีบุคลิกภาพทางการเมืองอย่างชัดเจนและถาวรขึ้นกว่าเดิม คำแปลศัพท์ค! ำนี้เป็นภาษาไทย มีความแตกต่างกันไปบ้างได้แก่ "กระบวนการสังคมประกิตทางการเมือง" "กระบวนการหล่อหลอมทางการเมือง" หรือ "กระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น