วันเสาร์ที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐



อาจารย์นารถ โพธิประสาท (14 พฤศจิกายน 2444 – 18 มิถุนายน 2497) สถาปนิก อาจารย์และผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ระดับปริญญาแห่งแรกของประเทศไทยที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้ร่วมสถาปนาวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศ



สารบัญ
อาจารย์นารถ โพธิประสาท เกิดที่บ้านเลขที่ 2328 หลังตลาดบ้านขมิ้น ตำบลสวนอนันต์ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี บุตรนายเปรี้ยง และ นางไหว โพธิประสาท เป็นหลานตาของหลวงสถานพะละกรรม ซึ่งเป็นนายช่างก่อสร้างที่ได้เคยบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามหลวงในพระนคร ตลอดจนศาลาว่าการและบ้านพักข้าราชการในมณฑลต่างๆ ภาคใต้ เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนโฆสิตสโมสร แ�! �ะชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย



ชีวิตเยาว์วัยและการศึกษาเบื้องต้น
อาจารย์นารถจบการศึกษาขั้นมัธยมเมื่อ พ.ศ. 2461 อายุเพียง 17 ปี ก็ได้เริ่มทำงานเป็นครูประจำชั้นโรงเรียนสวนกุหลาบ ได้เงินเดือน 60 บาท เป็นครูช่วยสอนภาษาอังกฤษตอนบ่ายโรงเรียนสตรีวิทยา และต่อมาได้เป็นครูถวายพระอักษรภาษาไทยและคำนวณแด่พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พ.ศ. 2462 อาจารย์นารถได้ขอเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็นครูฝึกหัดโรงเ�! �ียนสวนกุหลาบเพื่อรับการคัดเลือกไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ โดยต้องลดเงินเดือนลงมาเหลือเพียงเดือนละ 30 บาท



การทำงานในช่วงแรก
เมื่ออายุได้ 20 ปี (พ.ศ. 2464) ได้รับทุนเล่าเรียนกระทรวงธรรมการไปศึกษาสถาปัตยกรรม ณ ประเทศอังกฤษ ปีแรกเรียนกับครูพิเศษก่อน แล้วจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนศิลปกรรมปอร์ตสมัธซึ่งเป็นวิชาเบื้องต้นสำหรับเตรียมเข้าศึกษาสถาปัตยกรรม สามารถเรียนจบภายใน 3 ปี
ในปี พ.ศ. 2467 ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายหมู่ลูกเสือไทยไปร่วมประชุมนานาชาติ ณ กรุงโคเปนเฮเกน เสร็จประชุมแล้วเดินทางกลับประเทศอังกฤษ ผ่านประเทศเยอรมนี เบลเยียมและฝรั่งเศส ได้แวะศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมแบบภาคพื้นยุโรปด้วยการเห็นของจริง ปีต่อมา (พ.ศ. 2468) เมื่ออายุ 25 ปีได้เลือกเข้าศึกษาสถาปัตยกรรมหลักสูตร 5 ปี ณ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล มีผลการเรียนดีมาก ในเวลาเย! ็นได้ไปเรียนวิชาพิเศษเพิ่มเติมวิชาผังเมืองและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผังเมือง ระหว่างเรียน ได้รับรางวัลชมเชยในงานออกแบบอยู่เป็นนิตย์ การเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเสมอ
ระหว่างปิดภาคเรียน (พ.ศ. 2470) ได้เดินทางไปศึกษาสถาปัตยกรรม ณ ประเทศอิตาลี และในปี พ.ศ. 2471ชนะการประกวดแบบสถาปัตยกรรมที่ชาวต่างประเทศน้อยคนจะได้รับและต้องเป็นนักเรียนดีที่สุด ทำให้อาจารย์นารถได้รางวัลไปดูงานและฝึกงานซึ่งเป็นรายวิชาภาคปฏิบัติวิชาหนึ่ง ที่เมืองดีทรอยท์ สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 6 เดือน ได้มีโอกาสร่วมออกแบบและควบคุมงานโรงภาพยนตร์ นิว ฟอกซ�! �� ดีทรอยท์
ระหว่างเรียน ศาสตราจารย์เรลลี แห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลได้เขียนรายงานผลการเรียนต่อผู้ดูแลนักเรียนไทยเป็นภาษาอังกฤษไว้เป็นอย่างดีเยี่ยม ว่าเป็นนักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุดเท่าที่มหาวิทยาลัยเคยให้มา และว่าหากเป็นคนอังกฤษแล้ว จะต้องได้รางวัล Rome Scholarship ซึ่งเป็นรางวัลชั้นสูงสุดแต่ให้เฉพาะคนอังกฤษ
อาจารย์นารถ จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2472 ขณะอายุ 28 ปี โดยได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 แขนงการก่อสร้างและได้เป็นอับดับหนึ่ง (Bachelor of Architecture With 1st class Honours in Architectural Construction 1st place) และได้สมัครสอบปฏิบัติวิชาชีพจากสถาบันวิชาชีพ 3 แขนงและเข้าเป็นสมาชิกในสถาบันวิชาชีพต่างๆ ดังนี้
อาจารย์นารถได้ใช้เวลาที่เหลือจากการศึกษาใฝึกงานในประเทศอังกฤษ 6 เดือน และเดินทางท่องยุโรปอีก 2เดือนแล้วจึงเดินทางกลับถึงประเทศไทย

ประกาศนียบัตรสมทบแห่งราชบัณฑิตยสภาสถาปนิกอังกฤษ (A.R.I.B. Qual.)
ประกาศนียบัตรสมาชิกสมทบแห่งสภาวิศวกรรมก่อสร้าง (A.I.Struct.E.)
ประกาศนียบัตรสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสภาสุขาภิบาล (M.R.San.I.)

การทำงาน
เมื่อ พ.ศ. 2477 อายุ 33 ปี อาจารย์นารถได้ร่วมสถาปนิกที่ยังมีจำนวนน้อยในขณะนั้นก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น และในปีเดียวกัน เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม ด้วยความจำเป็น กรมโยธาเทศบาลจึงขอโอนอาจารย์นารถไปเป็นนายช่างสถาปนิก หัวหน้ากองสถาปัตยกรรม ในกรมโยธาเทศบาลเนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นได้เร่งรัดพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านการก่อสร้าง จึงต้องหา! ผู้มีความรู้ความสามารถโดยตรงมาวางรากฐาน



นารถ
ผลงานในกรมโยธาเทศบาล (กรมโยธาธิการและผังเมืองปัจจุบัน)
อาจารย์นารถ โพธิประสาทได้สมรสกับนางสาวสกุล (สกุนตลา) นิวาศนันท์ วิทยาศาสตร์บัณฑิตเมื่อ พ.ศ. 2484 แต่ไม่มีทายาท ในปี พ.ศ. 2485 (30 กันยายน) เมื่ออายุได้ 41 ปีได้รับพระราชโองการแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตในสาขาวิชาสถาปัตยศิลป์
เนื่อจากการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ในปี พ.ศ. 2494 เมื่ออายุ 50 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เจรจาขอโอนตัวกลับไปรับตำแหน่งอาจารย์เอกตามเดิม ซึ่งอาจารย์นารถได้ทุ่มเทให้กับการบริหารและการสอนอย่างหนักทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม และในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2497 หลังจากกลับจากการประชุมปรับปรุงหลักสูตรสถาปัตยกรรมที่คณะสถาปัตยกรรมฯ เพียง 3-4 ชั่วโมง อาจารย์นารถ โพธิประสา! ทก็ถึงแก่กรรมจากโรคปอดซึ่งเป็นโรคที่ยังรักษาไม่ได้ในขณะนั้น
ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดวางรูปปั้นครึ่งตัวของอาจารย์นารถ โพธิประสาทไว้ ณ โถงทางเข้าอาคารเรียนหลังเดิมเพื่อเป็นการระลึกถึงคูณูปการที่ท่านอาจารย์ได้มีต่อการศึกษาและวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศไทยโดยจะมีพิธีสักการะทุกวันที่ 23 พฤษภาคมซึ่งเป็นวันเกิดคณะทุกปี


วันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐



สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล (Arsenal Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงทีมหนึ่ง ในฟุตบอลอังกฤษ โดยเป็นทีมจากย่านลอนดอนเหนือ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1886 โดยมีสนามเหย้าปัจจุบันชื่อ เอมีเร็ตสเตเดียม โดยย้ายจากสนามเดิมอาร์เซนอลสเตเดียมที่ไฮบิวรี่ ปาร์คที่ย่านไฮบิวรีเมื่อ ก.ค. 2549 สโมสรเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "The Gunners" หรือ "ไอ้ปืนใหญ่" ในภาษาไทย อาร์เซนอลเป็นสโมสรหนึ่งใน�! �ลุ่มจี-14
ในปี 2549 ทีมอาร์เซนอล ได้ร่วมกับ สโมสรฟุตบอล บีอีซี เทโรศาสน ก่อตั้งบริษัทธุรกิจด้านฟุตบอลขึ้นมา โดยจะเปิดร้านขายของที่ระลึกที่ เซ็นทรัลเวิลด์พลาซา ปลายปี 2549 และนอกจากนี้อาร์เซนอลยังมีการทำสัญญาร่วมกับทีมฮองอันห์ยาลายในเวียดนาม



สารบัญ


สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
เรียงตามปีที่เริ่มเล่นในทีมอาร์เซนอลชุดใหญ่เป็นครั้งแรก (ในวงเล็บคือปี ค.ศ.):

1980s: เคนนี่ แซมซัม (1980), โทนี่ อดัมส์ (1983-2003), เดวิด โรคาสเซิล (1985-2002), พอล เมอร์สัน (1986-2002), ไมเคิล โทมัส (1986).
1990s: เดวิด ซีแมน (1990-2003), เอียน ไรท์ (1991), เดนนิส เบิร์กแคมป์ (1995-2006), ปาทริก วิเอร่า (1996-2005), มาร์ค โอเวอร์มาร์ส (1997), นิโคลาส์ อเนลก้า (1997-2001), เฟรดริก ลุงเบิร์ก (1998), เธียร์รี่ อองรี (1999-ปัจจุบัน).
2000s: แอชลีย์ โคล (2000-2006), โรแบร์ ปิแรส (2000-2006), โซล แคมป์เบล (2001-2006), เชส ฟาเบรกาส (2003), โฆเซ่ อันโตนิโอ เรเยส (2004-2006), โรบิน ฟาน เพอซี (2004-ปัจจุบัน) โทมัส โรซิกกี้ (2006), วิลเลียม กัลลาส (2006-ปัจจุบัน)

สถิติที่น่าสนใจ


วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

อำเภอบึงโขงหลง

อำเภอบึงโขงหลง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดหนองคาย อยู่ทางด้านตะวันออก พื้นที่ส่วนหนึ่งติดแม่น้ำโขง


วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐



การกล่อมเกลาทางการเมือง หรือ การเรียนรู้ทางการเมือง หรือสังคมประกิตทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจศึกษากันมานานแล้ว ในยุคที่รัฐศาสตร์ได้รับความสนใจศึกษาในเชิงปรัชญา นักปรัชญาการเมืองบอกว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคคลสำหรับความเป็นพลเมือง (Citizenship) ในแบบที่พึงปรารถนาของรัฐ
ในบทสนทนา (Dialoque) เรื่อง "อุตมรัฐ" หรือ "The Republic" ของ เพลโต้ (Plato) นักปรัชญาการเมืองสมัยกรีกโบราณ ซึ่งเป็นบทสนทนาหนึ่งห้าเรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของเพลโต้ Plato' s Great Five Dialoques) มีข้อความที่กล่าวถึงการให้การศึกษาและการให้ประสบการณ์แก่เด็กในนครรัฐว่าเป็นช่องทางหรือวิธีการสร้างค่านิยมความเป็นพลเมืองที่เหมาะสม เพลโต้จึงได้วางโครงการฝึกอบรมคน เพื่อให้เป็นพลเม�! �องที่มีค่านิยมและมีความโน้มเอียงพื้นฐานที่สอดคล้องกับบทบาทที่เขาจะมีส่วนร่วมในนครรัฐ ซึ่งจะเป็นบทบาทที่แตกต่างกันไป
เพลโต้ อธิบายว่า ค่านิยมของพลเมืองนั้น มีความเกี่ยวข้องกับเสถียรภาพและความเป็นระเบียบของสถาบันทางการเมืองด้วย ในทำนองเดียวกัน อริสโตเติล (Aristotle) ศิษย์เอกจากสำนักวิชาการอะแคเดมี่ (Academy) ของเพลโต้ กล่าวเน้นว่า กระบวนการให้การศึกษาทางการเมือง (Political Education) เป็นกระบวนการสร้างค่านิยมและความโน้มเอียงทางการเมือง (Dawson and Prewitt 1969, 6-7)
นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ ได้กล่าวถึงความหมายของการกล่อมเกลาทางการเมืองไว้หลายท่าน ขอยกตัวอย่างมากล่าวถึงโดยสังเขปได้แก่
อัลมอนด์และเพาเวลล์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นการนำมาซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแก่ประชาชนในระบบการเมือง (Almond and Powell 1966, 64) โดยเป็นกระบวนการสร้างและการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมืองจากคนรุ่นไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง หรือทำให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งของระบบการเมือง ที่ได้รับจากประสบการณ�! �ทางการเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา (Almond and Powell 1980, 36) ซึ่งจะช่วยรักษาวัฒนธรรมทางการเมืองเดิมเอาไว้ หรือนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมทางการเมืองเดิม หรือก่อให้เกิดการก่อตัวของวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ขึ้นมาก็ได้ ในเชิงการวิเคราะห์ระบบการเมืองกระบวนการเรียนรู้หรือการกล่อมเกลาทางการเมืองนี้ ในทัศนะของแอลมอนด์ จัดเป็นหน้าที่หนึ่งในระบ�! ��การเมืองตามตัวแบบการวิ� �คราะห์เชิงโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional Approach ) โดยเป็นหน้าที่นำเข้าสู่ระบบการเมือง หรือ Input Functions ซึ่งทำหน้าที่บำรุงรักษาระบบให้คงอยู่ ตามตัวแบบนี้ แอลมอนด์ตั้งสมมติฐานว่า ในแต่ละระบบการเมือง จะมีการสืบทอดวัฒนธรรมและโครงสร้างของระบบการเมืองยู่ตลอดเวลา และการสืบทอดดังกล่าวนี้ เป็นไปได้ด้วยกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง
อีสตันและเดนนิส (Easton and Dennis 1969, 7 ) อธิบายว่า การกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นวิธีการที่สังคมส่งผ่านความโน้มเอียงทางการเมือง อันได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ปทัสถาน และค่านิยม จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีกระบวนการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ สมาชิกใหม่ของระบบการเมืองซึ่งได้แก่ เด็ก ๆ ก็จะต้องแสวงหารูปแบบความโน้มเอียงเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองใหม่ ๆ อย�! �่ตลอดเวลา อันจะย่อมมีผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบการเมือง


การกล่อมเกลาทางการเมือง
รูปแบบของการกล่อมเกลาทางการเมือง
พาย (Lucian Pye 1962, 44-48) กล่าวไว้ว่า กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง มีลำดับขั้นตอนจำแนกได้ 4 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนแรก เป็นขั้นมูลฐานเริ่มแรกสุก เมื่อคนเกิดมาจะได้รับการอบรมเป็นช่วงตอนที่ทารกได้รับการฝึกฝนให้เป็นสมาชิกของสังคม ซึ่งเป็นตอนที่เด็กจะเกิดภาวะการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ค่านิยม ความชำนาญ ความสัมพันธ์กับบทบาทต่าง ๆ ของบุคคล ความรู้ทั่วไปและสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นซึ่งคนในสังคมนั้นจะต้องเรียนรู้ อันเรียกได้ว่าเป็นขั้นของการสร้างความโน้มเอีย�! �� (Orientation) ให้บุคคลเข้าสู่ความเป็นมนุษย์ โดยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเรียนรู้วิธีในการดำเนินชีวิตหรือการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
ขั้นตอนที่สอง เป็นขั้นที่ก่อให้เกิดบุคลิกภาพต่อบุคคล อันเป็นประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อจิตใต้สำนึก ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดบุคลิกภาพมูลฐานของบุคคลนั้น ในขั้นตอนนี้ บุคคลจะมีความสำนึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม หรือที่เรียกว่ามีตัวตน (Identity)
ขั้นตอนที่สาม เป็นขั้นที่บุคคลได้รับการกล่อมเกลาทางการเมือง เป็นขั้นตอนที่บุคคลเริ่มมีความรู้สึก มีความสำนึก ถึงโลกทางการเมืองรอบ ๆ ตัวเขา และได้รู้ รวมทั้งมีทัศนะ กับเข้าใจถึงเหตุการณ์ความเป็นไปทางการเมืองต่าง ๆ ที่เรียกได้ว่าเกิดวัฒนธรรมทางการเมือง ผ่านตัวแทนการกล่อมเกลา (Political Socializing Agents)
ขั้นที่สี่ เป็นขั้นตอนที่บุคคลผ่านจากการเป็นสมาชิกของการเมืองที่ไม่ได้มีกิจกรรม (passive) มาเป็นผู้เข้าร่วมที่มีบทบาททางการเมือง ขั้นตอนนี้เรียกว่า การเลือกสรรทางการเมือง (Political Recriutment) โดยเป็นขั้นตอนที่บุคคลจะมีความเข้าใจต่อการเมืองอย่างลึกซึ้งและมีทัศนคติทางการเมือง หรือที่เรียกว่ามีบุคลิกภาพทางการเมืองอย่างชัดเจนและถาวรขึ้นกว่าเดิม คำแปลศัพท์ค! ำนี้เป็นภาษาไทย มีความแตกต่างกันไปบ้างได้แก่ "กระบวนการสังคมประกิตทางการเมือง" "กระบวนการหล่อหลอมทางการเมือง" หรือ "กระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง"


วันจันทร์ที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

�

ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (27 เมษายน 2496 - ) เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นกรรมการอำนวยการของบริษัท Inter PAC ผู้ริเริ่มและพิธีกรปกิณกะทางโทรทัศน์ รายการ "หมอบ้าน"


ยอดเยี่ยม
สารบัญ

เริ่มต้นศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์
สถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.4414)

กิตติคุณประกาศ

อดีต: นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, กรรมการรถไฟฟ้ามหานคร, กรรมการการเคหะแห่งชาติ, กรรมการจัดสรรที่ดิน, กรรมการส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปสถาปัตยกรรมไทย, กรรมการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม, กรรมการกำกับนโยบายพลังงานแผนภาคบังคับ, ประธานเชียร์ และประธานบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ที่ปรึกษาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ
ปัจจุบัน: กรรมการควบคุมราคากลาง, กรรมการการท่าอากาศยานฯ, กรรมการกองทุนอนุรักษ์พลังงาน, กรรมการว่าด้วยการพัสดุ, ที่ปรึกษา (สมาคมสถาปนิกสยามฯ, สมาคมนักผังเมืองไทย, สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ, สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ) ฯลฯ

กิจกรรมเพื่อสังคม



ผลงาน
หมู่บ้านเด็กกำพร้าโสสะ (บางปู,หนองคาย,เวียงจันทร์,เชียงราย), คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี, ศูนย์ศาสนศึกษา ม.มหิดล, อาคารนวัตวิทยาคาร จุฬาฯ, สนง.ใหญ่ธนาลงกรณ์ (ที่ทำการกระทรวงวัฒนธรรม), U.M.office (รามคำแหง), Richmond Office (สุขุมวิท 26), Richmond Palace (สุขุมวิท 43), Taipan Hotel (สุขุมวิท 23), Crystal Garden (สุขุมวิท 4),Pilot Plant (Science Park), กระทรวงยุติธรรมแห่งใหม่ ฯลฯ



ผลงานบริหารโครงการ-การก่อสร้าง-ควบคุมงาน
อาจารย์และผู้บรรยายพิเศษ ให้กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, สถาบันเทคโนโยลีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, สมาคมสถาปนิก! สยามฯ, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, ฯลฯ


วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

�

สเตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นไลปิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันเป็นร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในระบบชีวิตส่วนใหญ่คือ การเป็นฮอร์โมน
ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และ เมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ เซลล์ เมมเบรน ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดีถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน! ้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศ ของ สัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล
สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
สเตอรอยด์ฮอร์โมน ทำให้เกิดผลทางสรีรวิทยา โดยการเชื่อมกับสเตอรอยด์ฮอร์โมนรีเซพเตอร์ โปรตีนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยีนทรานสคริปชั่น และการทำงานของเซลล์

แอแนบอลิก สเตอรอยด์ (Anabolic steroid) - นักกีฬา เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย
คอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroid) - มีผลต่อ เมตาโบลิซึม และการกำจัด อิเล็กโตรไลต์
ฮอร์โมนเพศ - แอนโดรเจน เอสโตรเจน และ โปรเจสตาเจน
โปรฮอร์โมน (Prohormone) - เป็นสารตั้งต้นของของสเตอรอยด์ ฮอร์โมน
ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) - เป็นสเตอรอยด์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในพืช
สเตอรอยด์
การสังเคราะห์