วันเสาร์ที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พ.ศ. 2460พ.ศ. 2460
พุทธศักราช 2460 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1917 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินจูเลียน
(ตามการนับศักราชแบบเดิม พ.ศ. 2460 เริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายน)

บุคคลสำคัญที่เกิดในปีนี้

วันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลั
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลั
ค้นหา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลั ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลั
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลั ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ค.ศ. 474
พุทธศักราช 1017 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 474 - มีนาคม ค.ศ. 475
มหาศักราช 396 วันเกิด

วันพุธที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

บริษัทสแควร์
สแควร์ (スクウェア) หรือ บริษัทสแควร์จำกัด (株式会社スクウェア, Square Co., Ltd.) เป็นบริษัทผลิตวิดีโอเกมของประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 โดย มาซาฟูมิ มิยาโมโต้ และ ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ
เกมแรกของ สแควร์ จัดจำหน่ายครั้งแรกบนเครื่องแฟมิคอม (Nintendo Family Computer หรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า Nintendo Entertainment System) และ แฟมิคอม ดิสก์ ซิสเต็ม (Famicom Disk System) โดยเกมในช่วงแรกที่ผลิตออกมาไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จนกระทั่งปี 1987 บริษัทก็ประสบปัญหาและมีโอกาสที่จะล้มละลาย และปีเดียวกัน ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ ลูกจ้างของบริษัทได้ถูกตำหนิเกี่ยวกับการสร้างเกมที่คาดว่าจะเป็นเกมสุดท้ายของบริษัท ซึ่งก็คือเกม RPG ชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy) บนเครื่องแฟมิคอมนั่นเอง
การที่ฮิโรโนบุนำคำว่า "ไฟนอล" (สุดท้าย) มาใช้เพราะเค้าวางแผนไว้ว่าจะลาออกจากการทำงานในอุตสาหกรรมเกมและ ไฟนอลแฟนตาซี จะเป็นเกมสุดท้ายของเขา แต่ ไฟนอลแฟนตาซี กลับทำได้ดีเกินกว่าที่ ฮิโรโนบุ และ สแควร์ คาดไว้ และทำให้มีการจำหน่ายไปสู่อเมริกาเหนือ โดยนินเทนโดอเมริกาซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเกม ไฟนอลแฟนตาซี ที่อเมริกาในปี ค.ศ. 1990 และจากความสำเร็จนี้เอง ทำให้ฮิโรโนบุยกเลิกแผนการที่จะลาออกและอยู่ที่ สแควร์ซอฟต์ เพื่อพัฒนาเกมไฟนอลแฟนตาซีภาคใหม่ต่อไป
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกมไฟนอลแฟนตาซีแต่ละภาคมีเนื้อเรื่องที่แปลกใหม่พร้อมกับตัวละครที่ไม่ซ้ำกับภาคก่อนก็น่าจะมีเหตุผลมาจากต้นฉบับของเกม ไฟนอลแฟนตาซี นั้นสร้างขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าจะไม่มีภาคต่ออีกนั่นเอง
ไฟนอลแฟนตาซีภาคต่อมาได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1988 (ไฟนอลแฟนตาซี II) โดยวางตลาดเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นจนถึง ไฟนอลแฟนตาซี III และมีกำหนดการวางจำหน่ายสำหรับเครื่องแฟมิคอม ในอเมริกาเหนือ แต่เนื่องจากการเข้าสู่ยุคใหม่ของเกมและการมาของเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม (ชื่อทางการคือ Nintendo Entertainment System) ในที่สุดก็มีการยกเลิกการจำหน่าย ไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเครื่องแฟมิคอม และแทนที่โดย ไฟนอลแฟนตาซี IV บนเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม
นอกจากนี้ สแควร์ ยังผลิตเกมอื่น ๆ ออกมาอีกและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น โครโนทริกเกอร์, ซีเคร็ท ออฟ มานา, เซเคนเด็นเซตสึ, เซโนเกียร์ส, ไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์, เบรฟเฟนเซอร์ มุซาชิเด็น, วาแกรนต์ สตอรี่ และ คิงด้อมฮาร์ทส (ร่วมมือกับบริษัท Disney Interactive โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับไฟนอลแฟนตาซี)
ในปี ค.ศ. 2002 บริษัทสแควร์ ได้รวมกิจการกับ เอนิกซ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเกมดราก้อนเควสต์ เพื่อที่จะควบคุมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเนื่องมาจากความล้มเหลวจากการผลิตภาพยนตร์ Final Fantasy : The Spirits Within และในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 การควบรวมบริษัทก็ประสบความสำเร็จและใช้ชื่อเป็นบริษัทสแควร์เอนิกซ์ (Square Enix) จนถึงปัจจุบัน

วันอังคารที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ 1 ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ โดยมีพระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีสิ่งก่อสร้างค่อนข้างแน่น เนื่องจากการบูรณะแบบใส่คะแนน (แข่งกันบูรณะ) ส่งผลให้มีอาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึง พระพุทธรูปมากมายภายในวัดแห่งนี้ โดยสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

สิ่งก่อสร้างภายในวัด
เขตวัดโพธารามเดิม ได้แก่ ส่วนตะวันตกของวัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของ วิหารพระพุทธไสยาส ศาลาการเปรียญ(ซึ่งเป็นพระอุโบสถเดิม ของวัดโพธาราม) พระมณฑป และพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล


เขตวัดโพธาราม (เดิม)
วิหารพระพุทธไสยาส

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
เดิมเป็นพระอุโบสถของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ภายหลังการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดพระเชตุพนแล้ว จึงได้ลดฐานะเป็นศาลาการเปรียญ โดยภายในมี "พระพุทธศาสดา" ประดิษฐานเป็นพระประธาน

ศาลาการเปรียญ
เขตพระอุโบสถเป็นเขตที่สถาปนาขึ้นใหม่นอกเขตวัดโพธารามเดิม สร้างตามคติไตรภูมิ โดยให้พระอุโบสถเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ และให้วิหารทิศทั้งสี่ เป็นเสมือนทวีปหลักทั้งสี่

เขตพระอุโบสถ
ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร (ปางสมาธิ สื่อถึงการตั้งจิตมั่นแน่วแน่)

พระอุโบสถ
ส่วนพระวิหารทิศทั้ง 4 นั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ โดยแบ่งออกเป็นมุขหน้าและมุขหลัง โดยมุขหน้า คือ มุขที่หันสู่ทิศต่าง ๆ ส่วนมุขหลังนั้น คือ มุขที่หันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถ โดยพระวิหารทิศแบ่งออกเป็น 4 ทิศ ได้แก่

พระวิหารทิศตะวันออก (ทิศพระโลกนาถ) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก ส่วนบริเวณมุขหลังประดิษฐานพระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้อัญเชิญมาจากวิหารพระโลกนาถ ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ (ซึ่งทรุดโทรมไม่มากนัก)
พระวิหารทิศตะวันตก (ทิศนาคปรก) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินศรี เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองสุโขทัย โดยได้อัญเชิญมาพร้อมกับพระพุทธชินราช
พระวิหารทิศเหนือ (ทิศป่าเลไลย) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธปาลิไลย เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงสร้างขึ้นใหม่เมื่อครั้งทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ
พระวิหารทิศใต้ (ทิศปัญญจวัคคีย์) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระวิหารทิศ
นอกจาก อาคาร พระวิหาร พระเจดีย์ต่าง ๆ แล้ววัดโพธิ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลายอย่าง อาทิเช่น

ประติมากรรมอื่น ๆ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม พระองค์ทรงได้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและศิลปวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ รวมทั้ง ได้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ ไว้ด้วย ซึ่งจำนวนของรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่สร้างในรัชกาลที่ 1 นั้น ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้หล่อรูปปั้นฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ รวม 80 ท่า โดยใช้สังกะสีและดีบุก แทนการใช้ดินที่เสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการแต่งโครงสี่สุภาพเพื่อบรรยายสรรพคุณท่าต่างของฤๅษีดัดตนทั้ง 80 บทด้วย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้น รวมทั้งมีการลักลอบเอารูปปั้นไปขายบางส่วน ดังนั้น รูปปั้นที่อยู่ภายในวัดโพธิ์จึงมีเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น

รูปปั้นฤๅษีดัดตน
ยักษ์วัดโพธิ์นั้นตั้งอยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป โดยมีสีกายเป็นสีแดง ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตาสลักหินรูปจีน หรือ ลั่นถัน นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์

ยักษ์วัดโพธิ์

การศึกษา
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาแขนงต่าง ๆ จารึกลงบนศิลาจารึกหรือแผ่นศิลา รวมทั้งได้ปั้นฤๅษีดัดตน ประดับไว้ภายในบริเวณวัด ซึ่งอาจจะแบ่งความรู้ต่าง ๆ ออกได้เป็น 8 หมวด ได้แก่ หมวดประวัติการสร้างวัดพระเชตุพนฯ หมวดตำรายาแพทย์แผนโบราณ หมวดอนามัย หมวดประเพณี หมวดวรรณคดีไทย หมวดสุภาษิต หมวดทำเนียบ(จารึกหัวเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) และหมวดพระพุทธศาสนา

โรงเรียนภายในวัด

วันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


ท่าอากาศยานนานาชาติซิดนีย์ คิงส์ฟอร์ด สมิธ (Sydney Kingsford Smith International Airport) หรือท่าอากาศยานซิดนีย์ ตั้งอยู่ที่เมืองซิดนีย์ ในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ติดกับอ่าวโบตานี รองรับการเป็นท่าอากาศยานหลักของออสเตรเลีย และสายการบินแควนตัส
ท่าอากาศยานซิดนีย์นับเป็นท่าอากาศยานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่ยังเปิดให้บริการมาอย่างอย่างต่อเนื่อง และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อปีพ.ศ. 2496 เพื่อเป็นเกียรติต่อผู้บุกเบิกการบินชาวออสเตรเลีย ชาร์ล คิงส์ฟอร์ด สมิธ

สนามบินคิงส์ฟอร์ดสมิท อาคารผู้โดยสาร และสายการบิน

การบินไทย
การูดาอินโดนีเซีย
โกเรียนแอร์
คาเธย์แปซิฟิก
แควนตัส

  • เจ็ตสตาร์แอร์เวย์
    เจแปนแอร์ไลน์ ให้บริการโดย เจเอแอลเวย์
    ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์
    ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์
    ไชน่าแอร์ไลน์
    บริติช แอร์เวย์
    ฟิลิปปินแอร์ไลน์
    มาเลเซียแอร์ไลน์
    ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
    รอยัลบรูไนแอร์ไลน์
    แลนแอร์ไลน์
    วีวามาเก๊า
    เวอร์จิ้น แอตแลนติก แอร์เวย์
    เวอร์จิ้นบลู

    • แปซิฟิกบลู
      โพลินีเชียนบลู
      เวียดนามแอร์ไลน์
      สิงคโปร์แอร์ไลน์
      เอเชียนาแอร์ไลน์
      เอติฮาดแอร์ไลน์
      เอมิเรตส์
      แอร์คาลิน
      แอร์แคนาดา
      แอร์ไชน่า
      แอร์ตาฮิตินุย
      แอร์นิวกีนี
      แอร์นิวซีแลนด์

      • ฟรีดอมแอร์
        แอร์แปซิฟิก
        แอร์มอริเชียส
        แอร์วานัวตู
        แอโรลิเนียอาร์เจนตินา
        ฮาวายเอียนแอร์ไลน์ อาคารผู้โดยสาร 3 แควนตัส

        คาเธย์แปซิฟิกคาร์โก
        เฟดเอกซ์
        มาร์ตินแอร์
        มาเลเซียแอร์ไลน์คาร์โก
        ยูพีเอส
        สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก
        ออสเตรเลียนแอร์เอกซ์เพรส
        แอตลาสแอร์