วันเสาร์ที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

เมาริทส์

เมาริทส์ คอร์เนลีส เอสเชอร์ (Maurits Cornelis Escher หรือ M.C. Escher) เกิดเมื่อ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1898 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถึงแก่กรรม 27 มีนาคม ค.ศ. 1972 เป็นศิลปินสาขาเลขนศิลป์ ผู้มีผลงานที่ใช้หลักการทางเรขาคณิต ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง มิติ ภาพลวงตา และเทสเซลเลชัน ถึงแม้ว่าเขาจะมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ไม่มากนักก็ตาม


�
ผลงานที่มีชื่อเสียง

Self-Portrait, 1929
Hand with Reflecting Sphere, 1935
Development I, 1937
Three Spheres II, 1946
High and Low, 1947
Another World II, 1947
Eye, 1948
Contrast (Order and Chaos), 1950
Puddle, 1952
Reality, 1953
Print Gallery, 1956
Smaller and Smaller, 1956
Whirlpools, 1957
Belvedere, 1958
Circle Limit III, 1959
Circle Limit IV (Heaven and Hell), 1960
Waterfall , 1961
Möbius Strip I, 1961
Möbius Strip II, 1963
Knots, 1965
Metamorphosis III, 1967-8
Snakes, 1969

วันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐



แจ็กเดอะริปเพอร์ (Jack the Ripper) เป็นสมญาของฆาตกรต่อเนื่องที่ออกทำฆาตกรรมในย่าน "ไวท์แชเปล" ซึ่งเป็นถิ่นยากจนใกล้นครลอนดอนในช่วงครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2431 ชื่อสมญาได้มาจากข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ทีลงข่าวจดหมายลึกลับที่เขียนถึงสำนักข่าวกลางโดยผู้เขียนที่อ้างตนว่าเป็นฆาตกร ถึงแม้จะมีการสืบสวนและมีทฤษฎีที่น่าเชื่อถือมากมาย แต่ก็ไม่สามารถบ่งบอกโ! ฉมหน้าที่แท้จริงของฆาตกรได้เลย
ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับฆาตกรแจ็กเดอะริปเพอร์ได้กลายเป็นขนมผสมน้ำยา ระหว่างการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจังทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดและนิทานพื้นบ้าน การขาดหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดทำให้เกิดมีคำว่า "นักริปเพอร์วิทยา" มาใช้เรียกนักประวัติศาสตร์และนักสืบสมัครเล่นที่ศึกษาคดีอันโด่งดังนี้เพื่อกล่าวหาหรือพาดพิงถึงบุคคลต่างๆ ว่าคือตัวริปเพอร์! หนังสือพิมพ์ซึ่งมียอดขายเพิ่มสูงมากในช่วงนี้โทษว่าเป็นเพราะความล้มเหลวของตำรวจที่ไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ ทำให้ฆาตกรฮึกเหิมได้ใจและท้าทาย เหตุการณ์จึงเกิดต่อเนื่องเรื่อยมา ในบางครั้งตำรวจมาถึงที่เหตุเกิดเพียง 2-3 นาที แต่กลับไม่ได้ตัวคนร้าย
เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิงที่ออกหาเงินเป็นครั้งคราวด้วยการเป็นโสเภณี ฆาตกรรมส่วนใหญ่เกิดในที่สาธารณะหรือกึ่งสาธารณะ เหยื่อทุกรายถูกเชือดคอ หลังจากนั้นซากศพจะถูกหั่นตรงช่วงท้องและบางครั้งที่อวัยวะเพศ คาดกันว่าเหยื่อจะถูกรัดคอให้เงียบเสียงก่อนลงมือฆ่า มีหลายกรณีที่มีการตัดอวัยวะภายในออก จึงมีผู้อนุมานว่าฆาตกรอาจเป็นศ�! �ลยแพทย์หรือไม่ก็คนขายเนื้อ ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้



เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย
เหยื่อที่เป็นที่ยอมรับทางกฎหมายว่าเป็นฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์แน่นอนมี 5 ราย มีชื่อเรียกกันว่า "5 เหยื่อบัญญัติ" (Canonical five)ที่ได้จากผลสรุปของการสอบสวนจากหลายฝ่ายจากการที่ศพทั้งหมดมีลักษณะการถูกกระทำเกือบเหมือนกัน เหตุที่ทำให้เป็นที่เชื่อถือได้ในขณะนั้น มาจากความเห็นของหัวหน้าตำรวจชุดสอบสวนกลางคือ เซอร์เมลวิลล์ แมกนอเทน ที่ให้ไว้เมื่อ พ.ศ. 2437 ซึ่ง�! ��พิ่งเปิดเผยเมื่อ พ.ศ. 2502 ความจริงแมกนอเทนเข้าร่วมการสอบสวนหลังเกิดเหตุแล้ว 1 ปี โดยไม่มีนักสืบอื่นร่วม ทำให้ "นักริปเพอร์วิทยา" ต้องแยกเอาศพ 2 รายออกจากรายการเดิมที่มี 7 รายเหลือเพียง 5 ราย
การฆ่าเหยื่อบัญญัติทั้ง 5 ทำตอนกลางคืนในที่มืดในวันหยุดหรือใกล้วันสุดสัปดาห์ มีลักษณะช่วงเวลาใกล้เคียงแต่ไม่ตรงกัน เกิดในที่ที่เปลี่ยวแต่สาธารณชนเข้าถึงได้ด้วยการนัดหมาย หรือเป็นที่ที่มีคนไปในช่วงสุดสัปดาห์ มีเพียงรายเดียวที่เกิดในเขตลอนดอนและเกิดบนถนน นอกจากนี้ ลักษณะการกระทำของฆาตกรเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ความความโด่งดังของการประ�! ��คมข่าว
ความยากในการบ่งชี้ว่าลักณะอย่างใดที่เป็นฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์อยู่ตรงช่วงเวลาที่มีการฆาตกรรมสตรีซึ่งมากอยู่แล้วในยุคนั้น แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ถ้าเป็นแจ็กเดอะริปเพอร์ คอเหยื่อจะถูกเชือดลึกมาก จะต้องมีการหั่นหรือสับช่วงท้องและอวัยวะเพศ มีการเชือดเอาอวัยวะภายในออกและมีการเฉือนใบหน้าด้วยมีดเป็นริ้วๆ..



เหยื่อที่เป็นที่ยอมรับได้แน่นอน 5 ราย
ยังมีบัญชีแนบท้ายรายชื่อ "5 เหยื่อบัญญัติ" ที่อาจเป็นฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์อีก 13 รายโดยถือเอาความคล้ายคลึงในการเข้าจู่โจมทำร้ายหรือฆ่า แต่เหยื่อเหล่านี้มีหลักฐานการกระทำไม่ครบถ้วนและละเอียดชัดเจน....



เหยื่อที่อาจใช่ฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์
กรณีแจ็กเดอะริปเพอร์ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในเทคนิคการสอบสวนและนิติเวชศาสตร์มากที่สุดหลังเหตุการณ์
วิธีการด้านนิติเวชสมัยใหม่ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่รู้จักของตำรวจนครบาลในสมัยวิกตอเรีย แนวคิดเกี่ยวกับแรงกระตุ้นหรือแรงดลใจให้ลงมือกระทำการฆ่าของฆาตกรต่อเนื่องยังไม่เป็นที่เข้าใจกันแต่อย่างใด ตำรวจในสมัยนั้นเข้าใจเพียงเพียงแรงจูงใจอาชญากรรมที่มีต้นจากความต้องการทางเพศเท่านั้น


แจ็กเดอะริปเปอร์
การสืบสวน
ฆาตกรรมแจ็กเดอะริปเพอร์มีผลต่อชีวิตแบบใหม่ของชาวอังกฤษ แม้ฆาตกรรมต่อเนื่องแจ็กเดอะริปเพอร์จะไม่ใช่กรณีแรก แต่ก็ได้ทำให้สื่อทั่วโลกแตกตื่นแพร่กระจายข่าวนี้อย่างครึกโครม การมียอดจำหน่ายสูงขึ้นมาก ประกอบกับการออกกฎหมายใหม่ลดค่าอากรแสตมป์ทำให้ราคาหนังสือพิมพ์ต่อฉบับลดลงมากจากการพิมพ์จำนวนมหาศาล ทำให้เกือบทุกคนซื้ออ่านได้ เรื่องราวลึกลั�! �น่ากลัวที่ยังจับใครไม่ได้จึงเป็นข่าวที่เพิ่มยอดขายได้สูง หลายคนถึงกับกล่าวว่าชื่อ "แจ็กเดอะริปเพอร์" เป็นชื่อที่หนังสือพิมพ์เป็นผู้ตั้งขึ้นเอง
การแพร่หลายของข่าวที่ประโคมแบบใหม่ทำให้เกิดกรณีฆาตกรรมต่อเนื่องที่คล้ายคลึงกันที่เกิดขึ้นในระยะหลังมีรูปแบบทำนองเดียวกันเช่น "ฆาตกรรัดคอบอสตัน" (the Boston Strangler) "ขุนขวานนิวออร์ลีน" (Axeman of New Orleans) นักซุ่มยิงเบลท์เวย์" (Beltway Sniper) รวมทั้งฆาตกรรัดคอเชิงเขา" (Hillside Strangler) เป็นต้น
ต้นเหตุสำคัญที่อาจเป็นไปได้ในกรณี "แจ็กเดอะริปเพอร์" ที่ได้กล่าวถึง คือการปล่อยละเลยไม่เหลียวแลย่านคนยากจนมากในสมัยนั้นจากชนชั้นสูงผู้ดูแลบ้านเมือง ดังย่านที่เป็นที่เกิดเหตุจึงมีผู้เรียกร้องความสนใจให้บ้านเมืองเข้ามาช่วยเหลือปรับปรุงให้มีสภาพดีขึ้นบ้าง จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอร์ เป็นผู้หนึ่งที่เขียนจดหมายเชิงประชดถึงกรณีดังกล่าวผ่านหนังสือ�! ��ิมพ์



ผู้ต้องสงสัย
มีการนำกรณีหรือชื่อของ "แจ็กเดอะริปเพอร์" มาสร้างเป็นนวนิยายหลายเรื่อง ตั้งเป็นชื่อวงดนตรีบ้าง ชื่อเพลงบ้างทั้งโดยตรงและใช้ชื่อสถานที่ที่มีการอ้างอิงแพร่หลายในข่าวที่เป็นที่รู้จักบ้าง เช่น พิงค์ดอท บอบ ไดลาน จูดาส พรีสท์และสกรีมมิง ลอร์ด ซัทช์ ต่างร้องและอัดเพลงจำหน่ายในชื่อ แจ็กเดอะริปเพอร์
มีหลายบริษัทที่เอาแจ็กเดอะริปเพอร์มาทำตุ๊กตาและของเล่นขาย จนบางครั้งได้รับการประท้วงจากสังคม ในปี พ.ศ. 2549 วารสารประวัติศาสตร์ บีบีซี. ลงคะแนนเสียงโดยผู้อ่านให้กรณี "แจ็กเดอะริปเพอร์" เป็นประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายที่สุดของอังกฤษ
ถึงปัจจุบันมีหนังสือที่ไม่ใช่นวนิยายเกี่ยวกับแจ็กเดอะริปเพอร์มากถึง 150 เล่มทำให้แจ็กเดอะริปเพอร์เป็นคดีฆาดกรรมจริงที่มีผู้นำไปเขียนมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่แล้ว แม้ขณะนี้ก็ยังมีวารสารเกี่ยวกับแจ็กเดอะริปเพอร์ตีพิมพ์จำหน่ายพร้อมกัน 6 ฉบับในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา


วันพฤหัสบดีที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อะมิโนไกลโคไซด์

อะมิโนไกลโคไซด์(อังกฤษ:Aminoglycosides)เป็นกลุ่มของยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียยากลุ่มนี้ได้แก่
กลไกการออกฤทธิ์ของอะมิโนไกลโคไซด์คือการไปเชื่อมต่อกับไรโบโซม (ribosome) 30เอส ของแบคทีเรียทำให้เกิดความผิดพลาดในการอ่านรหัส ที-อาร์เอ็นเอ (t-RNA) และแบคทีเรียไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตได้

อะมิกาซิน (amikacin)
เจนตามิซิน (gentamicin)
กานาไมซิน (kanamycin)
นีโอไมซิน (neomycin)
เนติลมิซิน (netilmicin)
พาโรโมไมซิน (paromomycin)
สเตรปโตไมซิน(streptomycin)
โตบราไมซิน (tobramycin)
ยาที่สกัดจากเชื่อราสเตรปโตไมซีส (Streptomyces) จะมีคำลงท้ายว่า -ไมซิน (-mycin)
ยาที่สกัดจากเชื่อราไมโครโมโนสปอรา (micromonospora) จะมีคำลงท้ายว่า -มิซิน (-micin)

วันพุธที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ผังมโนภาพ

ผังมโนภาพหรือแผนที่ความคิด (Mind map) คือรูปจำลองที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่องโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กัน โดยปกติจะใช้รูปวงกลมแทนมโนภาพหรือความคิด และเส้นลูกศรแทนลักษณะและทิศทางของความสัมพันธ์นั้น มีคำกำกับไว้ว่าวงกลมแทนมโนภาพของอะไร เส้นลูกศรแทนความสัมพันธ์ในลักษณะและทิศทางใด ในบางครั้งมีการใช้การเน้นและแจกแจงเนื้อความด้วยสีและการวาดรูปประกอ! บ


วันอังคารที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

มอเตอร์

มอเตอร์ คือ เครื่องมือในการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล มักจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม


วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ลิลิตยวนพ่าย

ลิลิตยวนพ่าย
ลิลิตยวนพ่าย เป็นวรรณคดีประเภทสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นวรรณคดีประวัติศาสตร์
ผู้แต่ง ไม่ปรากฏนาม แต่คงเป็นผู้รู้เรื่องวรรณคดีสันสกฤตและพงศาวดารอย่างลึกซึ้ง จึงแต่งได้ดีมาก
ทำนองการแต่ง แต่งเป็นลิลิตดั้น กล่าวคือเป็นร่ายดั้นและโคลงดั้น บาทกุญชร
ความมุ่งหมายของการแต่ง เพื่อยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์
ความหมายของคำว่า "ลิลิต" พจพนานุกรมฉบับราชบัณฑิยสถาน 2525 (2538:735) ให้คำนิยามไว้ว่า " คำประพันธ์ ซึ่งใช้โคลงและร่ายสัมผัสกัน" ในด้านเนื้อหาเป็นการสดุดีวีรกรรมพระมหากษัตริย์
ความหมายของคำว่า "ยวน" คำว่า ยวน ในที่นี้หมายถคงไทยล้านนา เพี้ยนมาจาก โยน หรือ โยนก เรียกกันสามัญว่าไทยยวน (หรือลาวยวน) ได้แก่คนไทยเหนือนั่นเอง
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และเนื้อหา กล่าวถึงสงครามระหว่างไทยได้(อยุธยา) และไทยเหนือ (ล้านนา) กล่าวโดยสรุปดังนี้
1. เป็นโครงดั้นยอพระเกียรติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 60 บท คือ โครงบทที่ 1 – 60 กล่าวถึงเหตุการณ์สมัยพระราชบิดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยกทัพไปรบเขมร พระองค์ประสูติตอนที่พระราชบิดาประชุมพล พระราชบิดาปราบเขมรได้ พระราชบิดาสวรรคต พระองค์ขึ้นเสวยราช

2. โคลบทที่ 61 – 112 กล่าวถึงเจ้าเมืองพิษณุโลกเอาใจออกห่างจากกรุงศรีอยุธยาไปติดต่อกับพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงยกทัพไปตีและปราบปรามมาจนสงบ (ยวนพ่าย) เสด็จประทับที่เมืองพิษณุโลก ทรงทุนุบำรุงพระพุทธศาสนาส่งพระราชบุตรไปลังกา นิมนต์พระเถระมาเผยแพร่พุทธศาสนา พระองค์ทรงผนวชและสร้างวัดพุทธไธศวรรย์
3.โคลงตั้งแต่บทที่ 113 เป็นต้นไป กล่าวถึงพระเจ้าติโลกราชตั้งหมื่นด้งนครเจ้าเชียงชื่น พระเจ้าติโลกราชเสยจริตประหารชีวิตราชบุตรและเรียกหมื่นด้งนครไปเชียงใหม่และประหารชีวิต ภรรยาหมื่นด้งนครแค้นใจ ได้ขอให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถช่วย จึงเกิดสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเชียงใหม่ (ยวนพ่าย)
4. โครงตั้งแต่บทที่ 290 – 365 เป็นการยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เรื่องย่อ ตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนำหัวข้อธรรมมาแจกแจงทำนองยกย่องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนได้ราชสมบัติ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงชื่น(เชลียง) เอาใจออกหาง นำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก เส! ด็จออกบวชชั่วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นกล่าวถึงการทำสงครามกับ เชียงใหม่อย่างละเอียดครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่ ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิตหนานบุญเรืองราชบุตร และหมื่นดังนครเจ้าเมืองเชียงชื่น ภรรยาหมื่นดังนครไม่พอใจ ลอยมีสารมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอกองทัพไปช่วย พระเจ้าติโลกราชทรงยอ�! ��ัพมาป้องกันเมืองเชียงช� �่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่ พ่ายไปได้เมืองเชียวชื่ม ตอนสุดท้ายสรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกครั้งหนึ่ง
ลักษณะคำประพันธ์และภาษาที่ใช้ เป็นร่ายดั้น 2 ตอน และโคลงดั้นบาทกุญชร จำนวน 365 บท ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยโบราณ เขมรและสันสกฤต – บาลี จำนวนมาก อ่านเข้าใจยาก แต่มีความไพเราะ หนักแน่นและประณีตบรรจง

1.ร่ายนำต้นเรื่อง ศรีสิทธิสวัสดิ์ ชยัศดุมงคล วิมลวิบุล อดุลยาดิเรก เอกภูธรกรกช ทสนัชสมุขชลิต วิกสิตสโรดม บรมนพอภิวาท บทรโชพระโคดม สมนุพระสัทธรรมาทิตย์ บพิตรมหิทธิมเหาฬาร …..ฯลฯ 2.โคลงบทแรก
ยำเมศมารุตอร อาศนม้า พรุณคนิกุเพนทรา สูรยเสพย เรืองรวีวรจ้าจ้า แจ่มจันทร์ 3.โคลงที่แสดงอรรถธรรมลึกซึ้ง เบญเจนทริเยศบั้น เบญจา นันตริยเบญจัก ไปล่เปลื้อง เบญจประการนา พิธมารค ก็ดี เบญจยศนั้นเรื้อง รวดพรหม 4. โครงที่แทรงอารมณ์ขันลึกๆ
เชลยลากลู่ม้า มือมัด เขาเมื่อยจูงขาย แลกเหล้า พระยศพ่อท่านทัด ไตรโลกย์ ดินหื่นหอมฟ้าเร้า รวดขจร
5. อ้างวรรณกรรมอินเดียหลายเรื่อง ในยวนพ่าย กวีผู้ประพันธ์ได้อ้างอิงชื่อตัวละครสำคัญในภารตวรรณกรรมหลายเรื่อง (วรรรณกรรมในอิน เดีย) เช่น รามายณะ และ ภารยุทธ์ เป็นต้น ตัวอย่าง
(1)พระทรงทัณฑาศเพี้ยง ยมยุทธ ยิ่งแฮ ทรงคทาเทียมภิม เลิศล้น กลทรงสราวุธ ราเมศ เพี้ยงพอ ขมาศโจมรพ้น ที่เทียง

(2) การช้างพิฆเนศร์น่าว ปูนปาน ท่านนา อัศวทำเทียมกลางรงค์ เลิศแล้ว การยุทธเชี่ยวชาญกล กลแกว่น ไหรหว่าอรชุนแก้ว ก่อนบรรพ์
(3) กลริรณแม่นเพี้ยง พระกฤษณ กลต่อกลกันกล เกียจกั้ง กลกลตอบกลคิด กลใคร่ ถึงเลย กลต่อกลตั้งไว้ รอยรณ
ข้อสังเกต มีการเล่นคำว่า "กล" ด้วย
6. ร่ายระบุพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ลิลิตยวนพ่ายมีหลักฐานที่ทำให้นักวรรคดีวินิจฉัยว่า แต่งสดุดีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดังนี้
"แต่นั้นบั้นนฤเมนทรนฤเบศ นเรศนรินทราธิบดีศรีสรรเพชรญ์ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนายกดิลกผู้เป็นเจ้า เกล้าภูมิพล สกลชมพูธิเบศ คือเดชกษัตรีพงศ์ ทรงมงกุฎรัตน์พสราภรณ์ วิภูสิตเสร็จ เสด็จเหรนือปฤษภาคกุญชร ดุจอมรสถิตเอราวัณ ครรไลยังนครคู่ฟ้า ถวัลย์วิภูผ่านหล้า แหล่งเฟี้ยมฟีกบุญ ท่านนา"

7. ตัวอย่างโคลงถวายพระราชสดุดียอพระเกียรติ ในสิสิตยวนพ่ายอุดมไปด้วยร่ายและโคลยอพระเกียรติ เช่น "ชัยยานุภาพท้าว เทียนทิน- กรแฮ เมืองเทพคนธรรพฤา อยู่ถ้อย ชัยชัยพ่อเพียงอินทร นุภาพ บุญเบิกเมืองถ้วนร้อย รอบถวาย ชัยชัยเมื่อปราบอ้อม กำแพงเพชร ผืนแผ่นผายเสมา ออกกว้าง ชัยชัยท่านตรัสเตร็จ ในนารถ ยศโยคบุญท้าวอ้าง อาจครวญ กษัตริย์สุรราชเรื้อง รสธรรม์ บรรหา! ยศยอยวน พ่ายฟ้า สมภารปราบไปกัลป์ ทุกทวีป ร้อยพิภาพเหลื่มหล้า อยู่เย็น ร้อยท้าวรวมรีบเข้า มาทูล ท่านนา ถวายประทุมทองเป็น ปิ่นเกล้า สมภารพ่อเพียงสูรย์ โศภิต มอญและยวนพ่ายเข้า ข่ายเขมร
ลิลิตยวนพ่าย มีลักษณะมาจนทุกวันนี้ ยังสมบูรณ์หรือถูกแต่งเหมือนวรรณคดีบางเรื่อง ถ้อยคำที่ใช้ในโบราณและคำสันสกฤตส่วนมาก ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำเหล่านี้ยังไม่ถูกดัดแปลงแก้ไขจากคนชั้นหลัง จึงเป็นประโยชน์แก่การศึกษาด้านภาษาอย่างมาก ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยาก และเรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับการรบทัพจับศึก แต่ลิลิต เรื่องนี้ก็ยังมีลักษณะวรรณคดี�! �ีเด่นเพราะใช้ถ้อยคำไพเราะ โวหารพรรณนาที่ ก่อให้เกิดจิตนาภาพ ให้อารมณ์ชื่นชมยินดีในบุญญาธิการของพระเจ้าแผ่นดิน และความรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันเป็นลักษณะสำคัญของวรรณคดีประเภท สดุดีความดีเด่นของลิลิตยวนพ่าย ทำให้กวีภายหลัวถือเป็นแบบอย่าง เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา ปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพร! ะนเรศวรมหาราช

สรุปว่า ลิลิตยวนพ่ายมิได้เป็นวรรณคดีขนบประเพณีโดยตรง แต่เป็นวรรณคดีนำทางให้เกิดการยอพระเกียรติ คือ การยอพระเกียรติหรือแต่งสดุดีวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ เป็นขนบประเพณีที่พึงกระทำสำหรับขุนนาง ข้าราชบริพารหรือเชื้อพระวงศ์สืบมา ถือเป็นการถวายความจงรักภัคดีรูปแบบหนึ่ง


คุณค่าของเรื่องลิลิตยวนพ่าย
1. ในด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีรุ่นหลัง ลิลิตยวนพ่ายมีอิทธิพลต่อนักกวีรุ่นหลังอย่างแน่นอน จะเห็นได้จาก ลิลิตตะเลงพ่าย ที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระปรทานุชิตชิโนรส๒
2. ในด้านอักษรศาสตร์ ลิลิตยวนพ่านนับเป็นวรรณคดียอพระเกียรติเล่มแรก ที่เป็นบทกวี มีสำนวนโวหารไพเราะอย่างยิ่ง แต่ก็ยากที่จะเข้าใจเหมือนกัน เพราะเต็มไปด้วยศัพท์คำยาก
3. ในด้านวิถีชีวิต ได้แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยอยุธยาว่านิยมยกย่องพระมหากษัตริย์ของตนและจงรักภักดียิ่งนัก ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติ
4. ในด้านประวัติศาสตร์ ทำให้มองเห็น ได้รู้เรื่องราวเหตุการณ์ความเป็นไปในสมัยนั้น ไดรู้ถึงการทำสงครามระหว่างพระมหากษัตริย์ต่างเมืองกัน การรบซึ่งใช้ช้างและม้าเป็นพาหนะ และมีอาวุธด้วย ได้แลเห็นว่าชาติกว่าจะเป็นชาติมาได้ ต้องมีบาดแผลไม่น้อยเลย ชีวิตของชาติ ชีวิตของคนก็เช่นกัน